ผลการใช้ Sepsis Bed Protocol ในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย

ผู้แต่ง

  • พริศา ขำพันธ์

คำสำคัญ:

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, Sepsis Bed Protocol, แผนกผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบ Historical controlled trial นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย ระหว่างการพยาบาลโดยใช้ Sepsis Bed Protocol กับการพยาบาลแบบเดิม โดยเก็บข้อมูลกลุ่มทดลองจากผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ที่ได้รับการพยาบาลรูปแบบ Sepsis Bed Protocol จำนวน 54 ราย กลุ่มเปรียบเทียบ จากผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่ได้รับการพยาบาลแบบเดิม จำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การพยาบาลรูปแบบ Sepsis Bed Protocol สำหรับผู้ป่วยภาวะพิษเหตุ  ติดเชื้อ โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น (Early resuscitation) ตามแนวทาง 6 Bundle และประเมินติดตามและให้การรักษา โดยใช้ NEWS score ในการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent t-test

ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลบ้านด่านลานหอยมีศักยภาพในการให้การพยาบาลตามแนวทางได้ครบถ้วน สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อของ Sepsis Bed Protocol ได้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะในเรื่องการให้สารน้ำอย่างเพียงพอตามเกณฑ์  ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ   (p-value <0.001) และมีผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มทดลองหลังได้รับการพยาบาลโดยใช้ Sepsis Bed Protocol มีอาการทุเลาร้อยละ 88.9 และกลุ่มเปรียบเทียบมีอาการทุเลา ร้อยละ 55.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = <0.001) ดังนั้นควรนำ Sepsis Bed Protocol ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้ผลลัพธ์และคุณภาพการรักษาผู้ป่วยดีขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง

จุฬาลักษณ์ นุพอ, กาจบัณฑิต สุรสิทธิ์, & วรัตม์สุดา สมุทรทัย. (2563). การประเมิน NEWS ณ ห้องฉุกเฉินเพื่อทำนาย อัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 11(1), 28–44.

พัลลภา อินทร์เหลา. (2566). การเปรียบเทียบคะแนน qSOFA, SIRs และ National Early Warning Score เพื่อทำนายการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือด แผนกห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแทพย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 38(3), 879–890.

ภัทรศร นพฤทธิ์, แสงไทย ไตรวงค์, & จรินทร โคตรพรม. (2562). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 221–230.

สมไสว อินทะชุบ, ดวงพร โพธิ์ศรี, & จิราภรณ์ สุวรรณศรี. (2560). ประสิทธิผลการใช้ MEWS (SOS Score) ต่อการเกิด Severe sepsis and Septic shock ในผู้ป่วย Sepsis กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 25(1), 82–92.

สุณี สุวรรณพสุ, วีรภัทรา ประภาพักตร์, & สุกัญญา พูลทรัพย์. (2564). การศึกษาประสิทธิภาพการใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตระบบ Search Out Severity Score และ National Early Warning Score ต่อภาวะใส่ท่อช่วยหายใจหรือการเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโดยไม่ได้วางแผนของผู้ป่วยสูงอายุในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 33(1), 1–20.

Hanlumyuang, G. (2020). The analysis of contributing factors to septic death in Pakkred Hospital. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 10(1), 108–117.

Jaruwatthanasunthon, J., Worapratya, P., & Piyasuwankul, T. (2022). Comparison Accuracy in mSIRS, NEWS and qSOFA Score to Triage Sepsis Patients in The Emergency Department at a Hospital in Thailand. Journal of Health Science and Medical Research, 40(5), 487–495.

Prakasit Tensit, Jayanton Patumanond, Sukee Phoblarp, Chalisa Nuntasunti, T. M. (2020). Prognotic factors of early and late mortality rate in community acquired sepsis. Med J Srisaket Surin Buriram Hosp, Vol. 35, pp. 102–109.

Srzić, I., Adam, V. N., & Pejak, D. T. (2022). Sepsis Definition: What’S New in the Treatment Guidelines. Acta Clinica Croatica, 61, 67–72.

World Health Organzization. (2023). Sepsis. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-06-2024