จริยธรรมการตีพิมพ์
วารสารประสาทจิตวิทยาไทยมีกระบวนการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติจึงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ และจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน โดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ของ Committee on Publication Ethics (COPE ethical guidelines) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์
ผลงานต้นฉบับที่ผู้นิพนธ์ส่งมานั้นต้องเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ระหว่างรอการตีพิมพ์โดยวารสารอื่น ทั้งนี้ผู้นิพนธ์ต้องรายงานผลการศึกษาหรือผลการค้นคว้าตามข้อเท็จจริงโดยไม่บิดเบือนข้อมูล
การนำความคิดหรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานต้นฉบับต้องได้รับการอ้างอิงในรูปแบบที่ถูกต้องและต้องทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
ผู้นิพนธ์ทุกคนที่ปรากฎชื่อในบทความต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการทำวิจัยจริงและหากมีแหล่งทุนหรือผลประโยชน์ทับซ้อนต่อผลงานวิจัยนี้ผู้นิพนธ์จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลและระบุรายละเอียดให้ชัดเจน
หากพบข้อผิดพลาดสำคัญในบทความผู้นิพนธ์มีหน้าที่แจ้งและทำงานร่วมกับกองบรรณาธิการเพื่อแก้ไขหรือเพิกถอนบทความ
ผู้นิพนธ์มีหน้าที่ศึกษาและเตรียมต้นฉบับให้สอดคล้องกับรูปแบบของวารสารตามที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้นิพนธ์”
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
บรรณาธิการวารสารมีหน้าพิจารณาและควบคุมคุณภาพของวารสาร การพิจารณาคุณภาพของวารสารขึ้นอยู่กับความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจนและความสอดคล้องกับนโยบายและจุดประสงค์หลักของวารสาร โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติบรรณาธิการวารสารมีหน้าพิจารณาและควบคุมคุณภาพของวารสาร การพิจารณาคุณภาพของวารสารขึ้นอยู่กับความสำคัญ ความริเริ่ม ความชัดเจนและความสอดคล้องกับนโยบายและจุดประสงค์หลักของวารสาร โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงการประเมินบทความและไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์มาแล้ว
บรรณาธิการจะไม่นำข้อมูลของบทความที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์หรือถูกปฏิเสธให้รับการตีพิมพ์ไปใช้ในงานวิจัยส่วนตัวหรือหากนำไปใช้ต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้นิพนธ์ก่อน
บรรณาธิการจะหลีกเลี่ยงการส่งบทความให้ผู้ประเมินบทความที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้นิพนธ์
บรรณาธิการมีหน้าตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นอย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้หากพบว่ามีการคัดลอกผลงานชองผู้อื่นบรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินผลงาน ติดต่อผู้นิพนธ์เพื่อขอคำชี้แจง จากนั้นจึงพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
ผู้ประเมินบทความมีหน้าที่รักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ได้รับพิจารณาให้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
หากผู้ประเมินตระหนักว่าผลงานที่ถูกส่งให้ประเมินมีความเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือมีเหตุผลอื่นที่ทำให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระผู้ประเมินมีหน้าที่แจ้งให้บรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความตามสาขาที่ตนเองเชี่ยวชาญ โดยประเมินบทความตามหลักการและหลีกเลี่ยงการใช้ความเห็นส่วนตัวที่ไม่มีหลักฐานทางวิชาการมารองรับ
ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งบรรณาธิการหากพบว่าบทความมีเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่นๆโดยที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้กล่าวอ้างอิง