การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • ผู้แต่งสามารถส่งบทความได้ตลอดทั้งปี โดยต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
  • บทความเตรียมในรูปแบบ Open office หรือ Microsoft Wordและต้องส่งเอกสารดังต่อไปนี้ 1) ไฟล์นิพนธ์ต้นฉบับ 2) แบบฟอร์มส่งตีพิมพ์ 3) เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารรับรองผ่านคณะกรรมการจริยธรรมในการวิจัยในมนุษย์
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • ต้นฉบับพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม Word Processor for Window ตัวอักษร TH SarabunNew ขนาด 16 สำหรับบทความภาษาไทยและ Browallia New สำหรับบทความภาษาอังกฤษ โดยให้พิมพ์ข้อความ 1สดมภ์ (1 column) ต่อ 1 หน้า ระยะห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน ไม่น้อยกว่า 2.5 ซม. (1 นิ้ว) ต้นฉบับแต่ละเรื่องไม่เกิน 12 หน้ากระดาษ (ไม่รวมใบนําส่ง) วัน เดือน ปีในเนื้อหาและตัวเลขทั้งหมดให้ใช้เลขอารบิก และใส่เลขหน้าทุกหน้า
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

ท่านสามารถศึกษาคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ได้ตามเอกสารตามลิงค์ดังกล่าวนี้

https://docs.google.com/document/d/1AstzCCeNf-0vBJu3YmWwdY3MwA9JEvBy/edit

ท่านสามารถดาวน์โหลด Template บทความวารสารได้ตามลิงค์ดังกล่าวนี้

https://docs.google.com/document/d/1ICbe6da3WmbFbuG-WZG6-OxYuJDgAbMC/edit

หนังสือรับรองการส่งบทความวิจัยสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ดังกล่าวนี้

https://docs.google.com/document/d/1CsqxYgq9fGgOa2lXyvY3RN928QQJKvMM/edit

บทความวิจัย

บทความวิจัยเป็นบทความวิชาการที่เขียนขึ้นจากข้อค้นพบของผู้นิพนธ์เอง อันเป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยและด้วยเครื่องมือวิจัยที่ได้รับการยอมรับในสาขาวิชาและถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ในบทความควรประกอบด้วยที่มาและความสำคัญของปัญหา วิธีการวิจัย ผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัยและข้อสรุป

บทความวิชาการ

บทความวิชาการคือบทความที่มีการกำหนดประเด็นของการวิเคราะห์ สังเคราะห์หรืออภิปรายที่ชัดเจนเพื่อได้คำตอบหรือข้อค้นพบใหม่ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์และอภิปรายนั้นอาศัยการทบทวนวรรณกรรมจากหลักฐานทางวิชาการต่างๆอย่างเป็นระบบและครอบคลุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เชื่อถือได้ บทความวิชาการควรประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา วิธีการในการศึกษา ผลการศึกษา การอภิปรายผลการศึกษาและข้อสรุป

บทความปริทัศน์

บทความปริทัศน์เป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์และรวบรวมข้อสรุปในประเด็นใดประเด็นดยแสดงให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสีย ข้อควรปรับปรุงหรือทิศทางของประเด็นที่ศึกษานั้นว่ามีแนวโน้มจะไปในทิศทางใด การหาข้อสรุปดังกล่าวผ่านการทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบและรอบด้าน โดยบทความควรประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา เนื้อหา ข้อสรุปและการอ้างอิง

รายงานผู้ป่วย

รายงานกรณีศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยที่น่าสนใจ โดยกรณีศึกษานี้ยังไม่ถูกรายงานมาก่อนหรือมีการรายงานเพียงจํานวนน้อย ในบทความควรประกอบด้วย ชื่อเรื่อง (มีคำว่า รายงานผู้ป่วย (Case report) ต่อท้าย)  บทคัดย่อ บทนำ ลักษณะอาการของผู้ป่วย การรักษา และผลการรักษาหรือการบำบัด วิจารณ์และสรุป ในกรณ๊ที่จำเป็นต้องแสดงรูปภาพต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้ดูแล

 

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ