ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • นิภาภรณ์ พรหมประสิทธิ์

คำสำคัญ:

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, แผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด และแพทย์ให้เข้าพักรักษาในหอผู้ป่วยในหรือห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลเชียงคำ จำนวน 428 คน แบ่งเป็นกลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มละ 214 คน แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยก่อนการใช้แนวปฏิบัติ ระยะที่ 2 ศึกษาในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหลังการใช้แนวปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป (2) ผลการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และ (3) แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า ผลการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดหลังการใช้แนวปฏิบัติเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติ ดังนี้ (1) การเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 93.9 เป็นร้อยละ 100) (2) การให้ยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชม. หลังการวินิจฉัยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 91.6 เป็นร้อยละ 96.7 (3) ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ 30ml/kg/hr เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.3 เป็นร้อยละ 87.8 และ (4) การเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.6 เป็นร้อยละ 39.0 ผลการศึกษาครั้งนี้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้   

References

ซ่อนกลิ่น ชูจันทร์. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร, 29(1), 14-22.

บราลี ศีลประชา. (2563). ผลลัพธ์การใช้แนวทางเวชปฏิบัติรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลตรัง. วารสารวิชาการทางการแพทย์เขต 11, 34(3), 35-46.

ประไพพรรณ ฉายรัตน์ และสุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. (2560). ประสิทฺธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 224-231.

เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์, กรองกาญจน์ สังกาศ, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, และยงค์ รงค์รุ่งเรือง. (2554). ผลของกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ Sepsis. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(2), 102-110.

ยรรยง เสถียรภาพงษ์. (2556). ระบาดวิทยาของการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดในผู้ใหญ่ที่โรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 22(5), 832-841.

ลัลธริตา เจริญพงษ์ และกิตติศักดิ์ ผลถาวรกุลชัย. (2563). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(4), 542-560.

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. (2561). การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 16(2), 58-68.

สมพร รอดจินดา, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, และวิมลทิพย์ พวงเข้ม. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 120-134.

Levy, M. M., Evans, L. E., & Rhodes, A. (2018). The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Intensive Care Med, 44, 925-928.

Lueangarun S & Leelarasamee A. (2012). Impact of inappropriate empiric antimicrobial therapy on mortality of septic patients with bacteremia: a retrospective study. Interdiscip Perspect Infect Dis, 765205. doi: 10.1155/2012/765205.

Ministry of Public Health. (2019). Mortality rate in Community-Acquired Sepsis. Health Data Center: HDC. Retrieved September 16, 2019, from https://kkcard.moph.go.th/sepsis/template_sepsis2562.pdf.

World Health Organization. (2020). WHO calls for global action on sepsis - cause of 1 in 5 deaths worldwide. Retrieved July 1, 2020, from https://www.who.int/news/item/08- 09-2020-who-calls-for-global-action-on-sepsis---cause-of-1-in-5-deaths-worldwide.

Zhang, Z., Hong, Y., Smischney, N. J., Kuo, H. P., Tsirigotis, P., Rello, J., Caironi, P. (2017). Early management of sepsis with emphasis on early goal-directed therapy: AME evidence series 002. Journal of Thoracic Disease, 9(2), 392-405.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-14 — Updated on 2023-05-14