การพัฒนากระบวนการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : พื้นที่ตำบลแก้วแสน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
อุบัติเหตุทางถนน, การมีส่วนร่วม, กระบวนการป้องกันอุบัติเหตุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research; PAR) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการขับขี่ ในชุมชน และเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอุบัติเหตุทางถนนในตำบลแก้วแสน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 138 คน ได้แก่ กลุ่มแกนนำ โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ยินยอมตนในการวิจัย (inclusion criteria) คือ เป็นผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ได้แก่ ปลัดตำบลแก้วแสน ครู ผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำหรับการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีระดับความรู้เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความปลอดภัยในระดับสูง (54.75%) มีระดับทัศนคติด้านความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ในระดับปานกลาง ( 62.50%) และพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์มีพฤติกรรมในระดับปานกลาง (71.75%) สำหรับกระบวนการพัฒนารูปแบบการจัดการอุบัติเหตุทางถนนในตำบลแก้วแสน มีการดำเนินงาน ดังนี้ (1) ด้านผู้ขับขี่ มีการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ (2) ด้านยานพาหนะ มีการตรวจสอบสภาพยานพาหนะก่อนขับขี่อย่างเสมอ (3) ด้านถนน การประเมินและแก้ไขสภาพพื้นผิวถนน โดยการค้นหาถนนที่เสื่อมสภาพและมีความชำรุด (4) ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม การจัดการจุดเสี่ยงในพื้นที่โดยชุมชน ทั้งนี้ทุกกระบวนการดำเนินงานต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน
References
กาญจนา เลิศวุฒิ, วันเพ็ญ โพธิยอด และชัยธรณ์ อุ่นบ้าน. (2561). การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา; 14(1), 46-59.
กรมควบคุมโรค. (2562). การบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. (2566). รายชื่ออำเภอเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางถนน ปีงบประมาณ 2566.
ชวัลลักษณ์ รัตนสิงหา, สุทธินนท์ เสนารินทร์ และกรรณพร บัวลีวัน. (2559). การสร้างแนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจรโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 13(2): 17-23.
นัธทวัฒน์ ดีดาษ. (2564). การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 233-246.
พิชิต แสนเสนา, ธวัชชัย คำป้อง และวิลาวัลย์ บุญมี. (2566). รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี, 2(1), 47-62.
ไพบูลย์ ศรีพิมพ์สอ. (2566). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในเขตอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 3(1), 1-16.
วิทยา ชาติบัญชาชัย. (2565). สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนและการจัดการกับปัญหาของประเทศไทย. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 2(2), 187-198.
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยถนน. (2566). แผนที่แสดงสถิติผู้เสียชีวิตสะสม ปี 2566 ประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช.
ศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน. (2561). เครื่องมือ 5 ชิ้น ที่ทำให้การขับเคลื่อนกลไก ศปถ. ไปสู่ผลลัพธ์. ม.ป.ท.: ศูนย์วิชาการ.
สุเมธ องกิตติกุล และคณะ. (2559) รายงานสำหรับผู้บริหาร โครงการวิจัยการประเมินคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยของระบบรถโดยสารสาธารณะ [อินเทอร์เน็ต]. : ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.roadsafetythai.org
สมบูรณ์ แนวมั่น. (2563). รูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในตำบลโคกหล่าม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 18(1), 40-51.
World Health Organization. (2020). Road traffic injuries [Internet]; [cited 2022 September 3] from: https://www.who.int/health-topics/road-safety#tab=tab_1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.