ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดพังงา
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็น
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 295 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi-square test)
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.0 และเพศชาย ร้อยละ 21.0 อายุเฉลี่ย 60 ปี
ขึ้นไป ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน 15 ปีขึ้นไปพบมากที่สุด ร้อยละ 36.9 และมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้าอยู่ในกลุ่ม เฝ้าระวัง (126 -154 mg./dl.) ร้อยละ 41.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (p < 0.001) ระดับการศึกษา
(p = 0.022) อาชีพ (p = 0.049) ระยะเวลาป่วย (p = 0.047) การรับรู้ความสามารถในการจัดการตนเอง
(p = 0.010) การได้รับข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (p = 0.017) และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลใกล้ชิดในบ้าน (p < 0.001)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดกิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถในการ
จัดการตนเอง และส่งเสริมกิจกรรมให้บุคคลใกล้ชิดในบ้านมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
สุจิตรา บุญประสิทธิ์, สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์, และ ชมนาด สุ่มเงิน . ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2559; 32(1), 44-56.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
American Diabetes Association. ). Classification and Diagnosis of Diabetes in Standards of Medical care in diabetes. The Journal of Clinical and Applied Research and Education 2019; 42(1),
-28.
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. รายงานตามตัวชี้วัดในระดับNCD ClinicPlus ปี 2561.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา.2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://pna. hdc .moph.go.th/hdc/ reports/report_kpi.php?flag_ kpi_level= 9&flag_kpi_year=2018&source= pformated/format1.php&id=e9fb648fe9f1858878714a410222eef1#
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. รายงานตามตัวชี้วัดในระดับNCD ClinicPlus ปี 2562.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา.2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้ จาก https://pna.hdc.moph.go.th/hdc/
reports/page_kpi.php?flag_ kpi_level= 9&flag_kpi_year=2019
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. รายงานตามตัวชี้วัดในระดับNCD ClinicPlus ปี 2563. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา.2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://pna.hdc.moph.go.th/
hdc/reports/page_kpi.php? flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2020
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. รายงานตามตัวชี้วัดในระดับNCD ClinicPlus ปี 2564. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา.2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://pna.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php? flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2021
กระทรวงสาธารณสุข. การดูแลตนเองเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในบริบทไทย.นนทบุรี: บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; 2560
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2564. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็นมีเดีย จำกัด; 2564
วุฒิชัย วงค์เกษ. พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ 2560
พรรณิภา บุญเทียร, อัจฉริยา พ่วงแก้ว, อรวรรณ ประภาศิลป์, และ พักตร์ศิริ เกื้อกูล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2564; 39(1), 13-23.
กมลพร สิริคุตจตุพร, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, และ นารีรัตน์ จิตรมนตรี.ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล 2560; 32(1), 81 -93.
Clark, N.M., Gong, M., & Kaciroti, N. A model of self-regulation for control of chronic disease. Health education & behavior 2001;28(6):769-82.
Daniel,W.W., Cross C.L. (2018). Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences, 11th Edition. 1-720. John Wiley & Sons.
ชลดา พลศรีดา. พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครมหาวิทยาลัยมหิดล 2560
Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York:McGraw-Hill;1976.
กรมกิจการผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. คู่มือระบบดูแลและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในระดับพื้นที่.2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2566]. เข้าถึงจากhttps://www.dop.go.th/download/knowledge/th1561080125-196_0.pdf
Bandura, A. (1997). Self – Efficacy: The exercise of control.New York: W.H Freeman and Company
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.