ผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ ปัญญาสังคม ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ศรัญญา ปัตจิตย์
  • สุดารัตน์ พลนาคู
  • ปริญญาภรณ์ จำเริญเจือ
  • วรกร วิชัยโย
  • นิตยา แสงประจักษ์

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, การเห็นคุณค่าในตนเอง, การป้องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาสังคม ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 86 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 46 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 40 คน โดยที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมในการให้ความรู้ทัศนคติ เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ก่อนการทดลอง และหลังการทดลองทันที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการเห็นคุณค่าของตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโดยใช้สถิติ Paired Samples t-test และ Independent Samples t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา : พบว่า มีค่าเฉลี่ยความรู้ต่อการมีเพศสัมพันธ์การป้องกันการตั้งครรภ์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองมีความแตกต่างกันจากลุ่มเปรียบเทียบ และหลังทดลองพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p-value<0.05) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนการทดลอง (x̅ = 7.41, S.D. = 3.60 และ x̅ = 8.25, S.D. = 3.62 ตามลำดับ) p-value = 0.281 หลังการทดลอง (x̅ = 10.13, S.D. = 2.77 และ x̅ = 8.60, S.D. = 4.24 ตามลำดับ) p-value = 0.026 ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ก่อนการทดลอง (x̅ = 3.34, S.D. = 0.53 และ x̅ = 2.98, S.D. = 0.74 ตามลำดับ) p-value = 0.004 หลังการทดลอง (x̅ = 3.63, S.D. = 0.38 และ x̅ = 0.75, S.D. = 0.62 ตามลำดับ) p-value < 0.001 และการเห็นคุณค่าของตนเองในการป้องการตั้งครรภ์ ก่อนการทดลอง (x̅ = 3.66, S.D. = 0.67 และ x̅ = 3.21, S.D. = 0.84 ตามลำดับ) p-value = 0.004 หลังการทดลอง (x̅ = 3.82, S.D. = 0.38 และ x̅ = 3.11, S.D. = 0.73 ตามลำดับ) p-value < 0.001 ค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองมีความแตกต่างกันจากกลุ่มเปรียบเทียบ และหลังทดลองพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p-value<0.05)

References

HDC จังหวัดกาฬสินธุ์ .(2561).การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์.วันที่สืบค้น 16 กรกฎาคม 2563, เข้าถึงได้จาก ttp://203.157.186.15/filpbook/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B01/(9)%E0%B8%95%E0%B8%81.1_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C59-74.doc

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ .(2560). สถานการณอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น. วันที่สืบค้น 15 กรกฎาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://tpso2.m-society.go.th/wp-content/uploads/2019/03/report_21032562101230.pdf tpso2.m-society.go.th tpso2.m-society.go.th

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ .(2558).ประเทศไทยมีอัตราการคลอดในวัยรุ่นเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด. วันสืบค้น 15 กรกฎาคม 2563, เข้าถึงได้จากhttp://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index.

นาตยา แก้วพิภพ .(2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถ ตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์.นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัชนียา เชียงตา .(2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เขตเทศบาลเมืองสระบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี.

วาสนา รัตนสีหภูมิ .(2558). การพัฒนาโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองโดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ ทางปัญญาสังคมเพื่อเสริมสร้างเจตคติทางลบต่อการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนตน.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล .(2563). ผลการจัดชุดกิจกรรมต่อทัศนคติ การคล้อยตามอิทธิพลคนรอบข้างการรับรู้การควบคุมตนเอง และความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี.วารสารเครือข่าย,วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขใต้.

เอ็มวิกา แสงชาติ .(2559). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Facebook) ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น,คณะสาธารณสุขศาสตร์,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31