ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำผักกูด อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วิทยา ถาวรรัตน์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำผักกูด อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ศึกษากลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (one-group pretest -posttest design) โดยศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงใช้เวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ คะแนนความเชื่อด้านสุขภาพ คะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และค่าเฉลี่ยคะแนนผลการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก ในกลุ่มทดลอง ที่ใช้โปรแกรมฯ ก่อนและหลัง โดยใช้สถิติ Paired t–test

ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง หลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value<0.05) สำหรับระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว หลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value<0.05)

References

World Health Organization. (2021). Hypertension. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension 2021.

Bell, K., Twiggs, J., & Olin, B. R. (2015). Hypertension: The silent killer: updated JNC-8 guideline recommendations. Retrieved from https://www.scribd.com/document/310382614/CE-Hypertension-the-Silent-K

Health data center Ministry of Public Health. (2023). Report group criteria for non-communicable disease. Retrieved from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php (in Thai)

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021). Hypertension cascade: prevalence.html.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2022). Mortality rate of disease B.E. 2559-2564. Retrieved from http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-/detail.php?id=13893&tid=32&gid=1-020. (in Thai).

Thai Hypertension Society. (2019). 2019 Thai guidelines on the treatment of hypertension. Chiang Mai: Trickthink. (in Thai)

Faul F, Erdfeldes E, Lang AG, Buchner A. G* Power 3.1.9.2: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Meth, 2014; 39(2): 175-91.

สุนทรีย์ คำเพ็ง. (2555). ผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 9 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี (รางานการวิจัย). สระบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท.

วิไลวรรณ ภูศรีเทศ. (2564). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย ตำบลนาอิน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ทัศนะ วงศ์รัตนดิลก. (2560). ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการเดินเร็วในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประหยัด ช่อไม้ และ อารยา ปรานประวิตร. (2558). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาดินอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 10(1) : ม.ค.-มิ.ย.,15.

สุพัฒชา ปั้นจันทร์. (2559). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ ในชุมชนบ้านบางท้องคุ้ง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การส่งเสริมสุขภาพ).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิยรัตน์ ชลสินธุ์. (2559). การศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE Vol.11 No.1 January – April 2017,107.

ชัญญานุช ไพรวงษ์, วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์ และภูนรินทร์ สีกุด. (2560). การศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(1), 107-116.

วรวุฒิ ชมพูพาน และคณะ. (2563). ผลของโปรแกรมการปรับวิถีชีวิตต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุเพศหญิง ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. ปีที่ 31, ฉบับที่ 1 , หน้า 45

เรียมใจ พลเวียง. (2565). การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 31 ฉบับเพิ่มเติม 1 พฤษภาคม - มิถุนายน 2565, หน้า 26-27

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01