ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักแรกคลอดของทารกเกิดมีชีพในโรงพยาบาลนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อรอุมา เชื้อหมอเฒ่า

คำสำคัญ:

น้ำหนักแรกคลอด, ทารกเกิดมีชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักแรกคลอดของทารกเกิดมีชีพในโรงพยาบาลนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราชประชากรคือ มารดาที่คลอดเด็กเกิดมีชีพที่มาคลอดโรงพยาบาลนาบอน กลุ่มตัวอย่าง120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และMultiple logistic regression

ผลการวิจัยพบว่า อายุครรภ์คลอด≥37สัปดาห์ ทารกแรกเกิดมีโอกาสมีน้ำหนัก ≥2,500 กรัม 16.34 เท่า เมื่อเทียบกับอายุครรภ์คลอด<37 สัปดาห์ (AdjustOR= 16.34, 95%CI= 2.62-101.77) การไม่มีโรคเกี่ยวกับเหงือกและฟัน ทารกแรกเกิดมีโอกาสมีน้ำหนัก ≥2,500 กรัม 89.39 เท่า เมื่อเทียบกับการมีโรคเกี่ยวกับเหงือกและฟัน (AdjustOR= 89.39, 95%CI= 11.96-668.36)

ฉะนั้น ควรมีการรณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ทันที และมีการติดตามรักษาโรคที่เกี่ยวกับฟันและเหงือกซึ่งส่งผลถึงน้ำหนักแรกคลอดของเด็ก

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564).แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).นนทบุรี.

ชุติมา ไตรนภากุล. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(2), 79-87.

ทวีลาภ โชติกิตติกุล. (2559). ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลกระบี่. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 30(4), 269-276.

ธานินทร์ วรานันตกุล. (2560). ปัจจัยทำนายทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการแพทย์เขต 11, 31(3), 523-532.

ระจิตร ชาครียวณิช. (2566).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในเขตสุขภาพที่ 5. สืบค้นข้อมูลจาก https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20230124214730_4556/20230124214749_1288.pdf

โรงพยาบาลนาบอน. (2566). รายงานประจำปี 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช.

วรัญญา เก้าเอี้ยน. (2563). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่มีผลต่อการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 34(3), 63-72.

สมเกียรติ พยุหเสนารักษ์ และโสภิศ ปุรินทราภิบาล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อยของหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ในโรงพยาบาลวังวิเศษ จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 497-507.

สุกัญญา บุญบัวมาศ. (2566).อัตราการเสียชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า1,000 กรัม ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์, วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 38(2), 307-317.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2565). แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2565.กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ข้อมูลสถิติ.[ออนไลน์]. สืบค้นข้อมูลจากhttps://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5.

อรพินท์ กอสนาน. (2556). ผลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 30(4), 287-299.

Schlesselman, J. J.(1982).Case-control studies. New York:Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01