ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลนาบอน
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การควบคุมระดับน้ำตาล, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional research) ครั้งนี้เพื่อสำรวจระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน จำนวน 306 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพการเข้าถึงข้อมูล การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้เท่าทัน และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง ใช้สถิติเชิงพรรณนา อธิบายคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก และพบว่า เพศ ระดับความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพ และการสื่อสารสุขภาพ ความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (OR=5.28, 95%CI: 2.46-11.35, OR=4.52, 95%CI: 1.97-10.39 และ OR=4.97, 95%CI: 1.44-17.08 ตามลำดับ) จึงควรมีการรณรงค์และส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายร่วมกันในภาพของอำเภอ มีการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจทางด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งควรจัดกรรมที่ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยเน้นทักษะการสื่อสารสุขภาพเป็นสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
References
กันตพงษ์ ปราบสงบ (2559) ความสัมพันธ์ของความแตกฉานด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดทที่ไม่พึงอินซูลิน (เบาหวานชนิดที. 2) ในอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี. ใน: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา. หน้า 2638–50.
กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ (2561). การทำความเข้าใจในการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(3):1-3.
กุสุมา กังหลี (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3):256-268.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561) การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7-14 ปี) กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง ปี 2561. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี.
ขวัญเมือง แก้วดำเมิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร (2554) ความฉลาดทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิวธรรมการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร (2559) การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข.
ณาเดีย หะยีปะจิและพิสิษฐ์ พวยฟุ้ง (2562) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลที่ กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 20(3): 83-94.
ธาริน สุขอนันต์, ณัฐพร มีสุข และอาภิสรา วงศ์สละ (2559) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 27(1): 93-102.
ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล (2561) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 12(3):515-22.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (2560) แนวทางเวชปฏิบัติในโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
วิชัย เอกพลากร (2557) รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
วรรณรัตน์ รัตนวรางค์, วิทยา จันทร์ทา (2561) ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 24(2):34–51.
วรรณี จิวสืบพงษ์และคณะ (2565) ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อความสามารถในการควบ คุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3):30–43.
สุขมาพร พึ่งผาสุก, นภาพร วาณิชย์กุล, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธ์ (2560) ความสัมพันธ์ของความแตกฉานทางสุขภาพ ผลจากการได้รับความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพ และอิทธิพลทางสังคม กับผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 และ/หรือความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการพยาบาล, 32(2):111–25.
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา, (2563) รายงานสถานการณ์โรค NCDs (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง) พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
Ahmad, N.S., Islahudin, F. and Paraidathathu, T. (2013). Factors associated with good glycemic control among patients with type 2 diabetes mellitus. Journal of Diabetes Investigation. [Online]. Available: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jdi.12175/full.
World Health Organization (2009) . 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development Health Literacy and Health Promotion: Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region; Nairobi Kenya.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.