ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ในจังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • นัยนา ชนะ

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงสูงกับพฤติกรรมสุขภาพการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุอยู่ในช่วง 35 –59 ปี ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคติดต่อเรื้อรังในหน่วยบริการของรัฐในจังหวัดกระบี่ เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างประมาณ 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (ค่า r) 

ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (M = 78.61, SD = 17.08) โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านโต้ตอบ ซักถาม แลกเปลี่ยน (M = 75.33, SD = 19.33) รองลงมาคือด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (M = 72.72, SD = 16.47) ส่วนระดับพฤติกรรมสุขภาพการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (M = 71.82, SD = 7.31) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (r=0.568) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเข้าถึงข้อมูล ด้านการเข้าใจข้อมูลสุขภาพ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการบอกต่อ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (r=0.188, 0.191, 0.192, 0.261 และ 0.243 ตามลำดับ) ส่วนด้านการโต้ตอบซักถาม ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย) สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565 จาก https://www.niems.go.th

กองโรคไม่ติดต่อ.จำนวนและอัตราการตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560-2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565จาก http://www.thaincd.com/

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557) การทบทวนวรรณกรรม สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัทอาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด

ปาจรา โพธิหัง. (2564) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 29 (3) หน้า 115-130

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. (2561) ความรอบรู้ทางสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก. 19 (ฉบับพิเศษ) หน้า 1-11

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560) ความร้อบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปกิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี. 44 (3) หน้า 183-197

พจนา มิตรเปรียญ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง และผู้ดูแล ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกงหรา อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 จาก http://data.ptho.moph.go.th

เอกชัย ชัยยาทา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการรับประทานยาและการมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในจังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร.

สุริยา หล้าก่ำ, ศิราณีย์ อินธรหนองไฝ่. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลตำรวจ. 9 (2) หน้า 85-93

ปิยะนุช จิตตนูนท์, อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร, และพิมพิศา ศักดิ์สองเมือง. (2564) ความรอบรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกันของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษาตำบลห้วยนาง จังหวัดตรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 41 (2) หน้า 13-25

กัญญาวีญ์ ต้นสวรรค์, อุษนีย์ รามฤทธิ์. (2566) การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 8 (1) หน้า 143-151

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29