โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • อนุกูล พลวัชรินทร์

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การป้องกันและควบคุมโรค, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experiment) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 88 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 44 คน และกลุ่มควบคุม 44 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การรับรู้โอกาสเสี่ยง  การรับรู้ความรุนแรง  การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วย Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ความรู้ (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}diff.=3.68, 95% CI = 2.84 to 4.51) การรับรู้ความรุนแรง (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}diff.=1.04, 95% CI = 0.08 to 2.00) การรับรู้อุปสรรค (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}diff.= 0.93, 95% CI = -0.04 to 1.91, P-value = 0.062) พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}diff.= 2.50, 95% CI = 0.81 to 4.81, P-value = 0.004)  ทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 12 พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า HI (House Index) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีผลต่าง ร้อยละ 6.20, 6.45, และ 5.64 ตามลำดับ และต่ำกว่า ร้อยละ 10

References

กฤตเมธ อัตภูมิ, วินัย รัตนสุวรรณ, ดุสิต สุจิรารัตน์, และมธุรส ทิพยมงคลกุล. (2560). ประสิทธิผลการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ; 11(2): 140-53.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2566). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2566.https://lookerstudio.google.com/reporting/dfa7d4e2-b7f5-48ed-b40a54f1cd4cbdfb/page/cFWgC?s=uJijraAskGk

จรวย สุวรรณบำรุง. (2557). ผลการประเมินสถานการณ์ปัญหาและการจัดการดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยผสมผสานวิธีและการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกของตำบลกำ แพงเซา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 6(5): 54-75.

ฐิติชญา ฉลาดล้น และพิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม. (2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตำบลต้นแบบ หมู่ 3 บ้านทุ่งทอง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 153-162.

ปรรณพัชร์ วงศ์ธีราพงษ์ (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่สวนมะม่วง ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5935/3/PannaphatWonghiraphong.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. (2566). โปรแกรมฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรค 506 ปี 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าแซะ. (2566). โปรแกรมฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรค 506 ปี 2566. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าแซะ.

Becker, M.H.. (1975). Socio-behavioral Determinant of compliance with health and medical care recommendation. Medical care. 13(1): 10-15

Rosenstock. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health education Monographs winter. 2(4): 354-386

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29