เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับ ความดันโลหิตได้กับผู้ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, โรคความดันโลหิต, ควบคุมระดับความดันโลหิตได้, ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระหว่างผู้ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้กับผู้ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอร่อนพิบูลย์ จำนวน 3,854 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 394 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.831 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติ Independent t-test
ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (M=2.46, S.D.=0.26) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการทำกิจกรรมร่างกาย ด้านโภชนาการ ด้านการมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น และด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ อยู่ในระดับพอใช้ สำหรับด้านการจัดการกับความเครียด อยู่ในระดับต้องปรับปรุง กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (M= 2.15, S.D.=0.21) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการทำกิจกรรมร่างกาย ด้านโภชนาการ และด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ อยู่ในระดับพอใช้ สำหรับด้านการมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น และด้านการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับต้องปรับปรุง เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ในภาพรวม และรายด้านมีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมไม่ได้ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ฉะนั้น ควรมีโครงการที่ให้ผู้ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ โดยอาจจะให้มีการจับคู่เพื่อส่งเสริมให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องซึ่งกันและกัน
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนงานป้องกันและควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ. 2565 - 2569. นนทบุรี.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2566). รายงานผลการทบทวน: ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อโรคไม่ติดต่อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องระดับโลก. กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี.
จุฑาภรณ์ ทองญวน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับบริการโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ เขต 11, 29(2), 195-202.
ณัฐพร อยู่ปาน, พัชรี ดวงจันทร์ และพนิดา แจ่มผล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 10(1), 10-18.
ปราณี ทัดศรี และยุภาพร นาคกลิ้ง. (2561). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง : เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้กับผู้ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. วารสารพยาบาโรคหัวใจและทรวงอก, 29(2), 157-169.
ภัสราวลัย ศีติสาร, อรุณวรรณ สุวรรณรัตน์ และจารุวรรณ ใจลังกา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้โรงพยาบาลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 9(2), 120-136.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2558). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพ. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2565). รายงานประจำปี 2565. นครศรีธรรมราช.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอร่อนพิบูลย์. (2565). รายงานประจำปีสำนักงานสาธารณสุขอำเภอร่อนพิบูลย์ 2565. นครศรีธรรมราช.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall.
Daniel, T. & Laurel, T. (1995). Curriculum Development Theory into Practice. Prentice-Hall,Inc.
Pender, N. J. (1966). Health Promotion in Nursing Practice. Norwalk: Appleton & Lange.
Pender, N.J., Murdaugh, C.L., & Parsons, M. A. (2002). Health promotion in nursing practice. 4th ed. New Jersey: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.