การพยาบาลมารดาคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลคำม่วง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • พัชธิยาภรณ์ ศิลวิชัย

คำสำคัญ:

การพยาบาลมารดาคลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลมารดาคลอดก่อนกำหนด กรณีศึกษา 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผน ของกอร์ดอน ในการเก็บข้อมูลกรณีศึกษา และนำวางแผนการพยาบาลตามกรอบแนวคิดทฤษฎีระบบการพยาบาลของโอเร็ม

ผลการศึกษา: รายที่ 1 หญิงไทย อายุ 33 ปี G5P3A1L2 Last 5 ปี อายุครรภ์ 33+2 สัปดาห์ (By U/S) ฝากครรภ์ 5 ครั้ง เจ็บครรภ์คลอดก่อนมาโรงพยาบาล 3 ชั่วโมง 15 นาที (6.00 น.) แรกรับ PV. Cx. Fully Dilate สูติแทพย์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ พิจารณาให้คลอดก่อนจึงนำส่งทารก คลอดปกติ ทารกน้ำหนัก 1,970 กรัม APGAR score 9 – 10 – 10 ทารก Active ดี นำส่งตึกทารกป่วย โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ รับการรักษาเป็นเวลา 9 วัน อาการเป็นปกติจึงจำหน่ายกลับบ้าน มารดาหลังคลอดการพยาบาลมารดาหลังคลอด 2 ชั่วโมง อาการทั่วไปปกติ นำส่งต่อไปโรงพยาบาลกาฬสินธุ์พร้อมทารก รายที่ 2 หญิงไทย อายุ 40 ปี G4P3A0L3 Last 6 ปี อายุครรภ์ 36+2 สัปดาห์ (By U/S) ฝากครรภ์ 6 ครั้ง มีน้ำใส ไหลออกจากช่องคลอดร่วมกับมีท้องปั้น ก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง มีไข้ BT 38 C PV.Cx. Dilate 5 cms, Membrane Rupture clear EFM พบ FHS 170-180/min ทำ Internal Uterine Resuscitation สงสัย Maternal sepsis พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ คลอดปกติ ทารกมีภาวะ Congenital pneumonia รับการรักษา เป็นเวลา 9 วัน อาการเป็นปกติจึงจำหน่ายกลับบ้าน มารดาหลังคลอด 2 ชั่วโมง อาการทั่วไปปกติ นำส่งต่อไปโรงพยาบาลสมเด็จพร้อมทารก

References

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลคำม่วง. (2566). สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลคำม่วง ประจำปี 2563-2565.

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, และธีระ ทองสง. (2564). ใน ธีระ ทองสง (บ.ก.), สูติศาสตร์ เรียบเรียงครั้งที่ 6 (น.247-256). กรุงเทพฯ: ลักษมีรุ่ง จำกัด.

พัญญู พันธ์บูรณะ. (2555). การพยากรณ์และการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด. ใน อภิชาต จิตต์เจริญ (บรรณาธิการ), บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ (ผู้จัดพิมพ์), การคลอดและการพัฒนาทางการแพทย์ (หน้า 276-288). กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.

เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. (2562). ยาที่ใช้ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. สืบค้นจาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/tocolytic-drugs-for-preterm-labor

เยื้อน ตันนิรันดร และคณะ. (2555). เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี การพิมพ์.

วรพงศ์ ภู่พงศ์. (2555). การดูแลปัญหาที่พบบ่อยทางสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.

สายฝน ชวาลไพบูลย์, และ สุจินต์ กนกพงษ์ศักดิ์. (2554). ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด. เวชบันทึกศิริราช, 4(2), พฤษภาคม-สิงหาคม 2554.

ศศิกานต์ กาละ. (2562). การพยาบาลสตรีที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ, และคณะ, การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2 (เล่ม2). สืบค้นจาก https://www.nur.psu.ac.th/nur/file_web ตำราการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์2เล่ม2.pdf

ศิริวรรณ แสงอินทร์. (2557). การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 22(1), 27-38.

อุ่นใจ, กออนันตกุล. (2562). การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนดเพื่อการรักษา. สูตินรีแพทย์สัมพันธ์, 28(1), 8-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-24