การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคร่วมที่บ้าน : กรณีศึกษา 2 ราย โรงพยาบาลระนอง
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมอง, การพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคร่วมที่บ้าน 2 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติทีกำหนดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลระนอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลเยี่ยมบ้านตามแนวทาง IN HOME SSS รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีผลต่อการเกิดโรค แบบแผนสุขภาพพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล กรณีศึกษา : เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2 ราย รายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 72 ปี อาการสำคัญ แขนขาด้านซ้ายอ่อนแรงมือหยิบจับของไม่ได้ ลิ้นชา เดินไม่ได้ เป็นมา 1วัน ได้รับการวินิจฉัย Acute Ischemic stroke รายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 83 ปี อาการสำคัญ 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล ขณะนั่งผ่าหมาก ตัวเริ่มเอียงด้านซ้าย พูดไม่ชัด ลิ้นคับปาก น้ำลายไหลจากปากด้านซ้าย ได้รับการวินิจฉัย Acute Ischemic stroke
การศึกษานี้ พบว่า การดูแลต่อเนื่องในชุมชนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น เป็นหัวใจสำคัญของพยาบาล การให้ความรู้แก่ญาติ การประเมินอาการผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย และมีการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้
References
ชื่นชม ชื่อลือชา. (2555). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์เวชสาร
ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์. (2558).“Ambulatory Neurology.’ กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
พรทิพย์รตา สุขรื่นบุลภรณ์. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิชาการและการ พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจักรีรัช, 1(2), 113-129.
โรงพยาบาลศิริราช คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด .(2564). คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง. โรงพยาบาลศิริราช.ฉบับปรับปรุง 2564 .
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2559). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง .สำหรับพยาบาลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่1 : กรุงเทพฯ.
สมศักดิ์ เทียมเก่า.(2566).อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย .วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย.; 39(2) :39-46.
อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2563). รูปแบบการพัฒนาองค์กรพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนที่ยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ตาม Service Plan: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน.
American Stroke Association. (2017). Stroke risk factor. Retrieved Apr 4 ,2024 from http://www.strokeassociation.org/STROKEORG/
Gordon, Moo. (1994).Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw- Hill.
Orem, D. E. (2001). Nursing Concepts of Practice. The United States of America: Mosby,Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.