การดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุคลินิกหอบหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • วิมลัก ธารางกูร

คำสำคัญ:

การดูแลตนเอง, การใช้ยา, ยาสูดพ่น, ผู้สูงอายุ, โรคหอบหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เรื่องการดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุคลินิกหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เพื่อศึกษาการดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยา ทั้งชนิดยารับประทานและยาสูดพ่นขยายหลอดลมในผู้สูงอายุโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และศึกษาถึงปัญหาในการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย การแก้ไขปัญหาที่ผู้ป่วยได้รับ วิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกประวัติการให้คำปรึกษาด้านยาประจำตัวของผู้ใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล การปฏิบัติการดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยา สภาพสรีระที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา การช่วยเหลือของครอบครัว และการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่สุขภาพของผู้สูงอายุโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยวิธีแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหาในส่วนของคำตอบที่ ได้จากข้อคำถามปลายเปิด และสรุปเนื้อหาเชิงบรรยาย (content analysis) โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับบริการที่หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเหนือคลอง ในระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2567 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง (purposive sampling) ได้จำนวน 69 ราย ใช้เวลาในการดำเนินการ 6  เดือน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดได้ปฏิบัติตามคำแนะนำถึงวิธีการใช้ยาพ่นที่ถูกต้อง ร้อยละ 86.9 การดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ขนาดของยาสูดพ่นในการรักษาโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบ Meter Dose Inhaler (MDI ) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการปฏิบัติการดูแลตนเองที่ถูกต้อง ร้อยละ 65.2 การดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ขนาดของยาสูดพ่นในการรักษาโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบ Accuhaler มีการปฏิบัติการดูแลตนเองที่ถูกต้อง ร้อยละ 89.8 แบบบันทึกประวัติการให้คำปรึกษาด้านยาประจำตัวของผู้ใช้ยา กลุ่มตัวอย่างได้รับคำแนะนำจากพยาบาล/แพทย์/เภสัชกร และความสามารถ ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่ากลุ่มตัวอย่างได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สุขภาพ ได้เกือบหมดทุกขั้นตอน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป เจ้าหน้าที่สุขภาพควรให้ความสำคัญในการแนะนำ/การสอนสาธิต และการประเมินอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการส่งเสริมการดูแลตนเองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

References

กมลรัตน์ ณ หนองคาย. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. ปริญญานิพนธ์เภสัชศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤติมา โภชนสมบูรณ์. (2563). ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง ในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 65(1), 73-82

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา. (2565). บทบาทพยาบาลในการจัดการอาการของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: กรณีศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 38(3), 12-25.

พรหมพร สมจันทร์. (2562).ผลของการให้คำปรึกษาด้านยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร, 41(1),49-57.

วัชรา บุญสวัสดิ์. โรคหืด. ในนิธิพัฒน์ เจียรกุล (บรรณาธิการ), ตำราโรคระบบการหายใจ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2561, 444-454.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. (2565). แนวทางการวินิจฉัยและ รักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย.

สุพัตรา เขียวหวาน. (2562). การพัฒนาระบบบริการการสอนวิธีการพ่นยาขยายหลอดลมในผู้ป่วยโรคระบบการหายใจ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(2), 130-147.

สุวรรณา จิตต์วราวงษ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหืดในคลินิกโรคหอบหืดโรงพยาบาลควนเนียง จังหวัดสงขลา. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 11(1),15-26.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. “รายงานสถิติโรค ปีงบประมาณ2566”.สถิติโรคกรมการแพทย์. กรุงเทพมหานคร:สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

อภิชาติ คณิตทรัพย์ และมุกดา หวังวีรวงศ์.แนวทางการ วินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ใหญ่ และเด็ก พ.ศ.2565. สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, มกราคม 2565.

อัญชนา พงศ์พันธ์ และคณะ (2566). การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตาม GOLD Guideline 2023. บทความการศึกษาต่อเนื่อง (CPE). ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์. คณะเภสัชศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Daniels, S., & Meuleman, J. (1994). Importance of assessment of metered dose inhaler technique in the elderly. Journal of American Geriatrics Society, 42(1),82-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01