การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • เบญจมาภรณ์ ชูช่วย

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ, แนวทางการดูแล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาผลของแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ในโรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกัน และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Wilcoxon signed rank test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ระดับความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำลดลง แม้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยเสี่ยงทางกายภาพ เช่น ขนาดรอบเอว ดัชนีมวลกาย ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดมีแนวโน้มดีขึ้น แนวทางการดูแลที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการเพิ่มการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาจต้องใช้เวลานานกว่า 8 สัปดาห์ในการเห็นผลชัดเจนทางกายภาพ

References

ราวรรณ วิริยะกิจไพบูลย์. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑาทิพย์ เทพสุวรรณ์. (2561). ผลของโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย, 17(1), 6-15.

ปิยะนุช จิตตนูนท์. (2564). ความรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกันของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษาตำบลห้วยนาง จังหวัดตรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(2), 13-25.

โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่. (2566). รายงานผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปี 2562-2566 [รายงานที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. โรงพยาบาลเขาพนม.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2559. กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานประจำปี 2562 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข.

สุจิตรา คุ้มสะอาด, วีณา เที่ยงธรรม, และเพลินพิศ สุวรรณอำไพ. (2560). [ไม่มีชื่อบทความ]. วารสารสมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทย, 31(ฉบับพิเศษ), [ไม่มีเลขหน้า].

Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1975). Sociobehavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Medical Care, 13(1), 10-24.

Kamara, S., & Singh, S. (2012). What are the patient-held illness beliefs after a transient ischaemic attack, and do they determine secondary prevention activities: An exploratory study in a North London General Practice. Primary Health Care Research & Development, 13(2), 165-174. https://doi.org/10.1017/S1463423611000284

World Stroke Organization. (2019). Global stroke fact sheet. https://www.world-stroke.org/assets/

downloads/WSO_Global_Stroke_Fact_Sheet.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01