การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจ กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สุพรรณิการ์ บุญพสิษฐ์ โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวังอาการทรุดลง, ผู้ป่วยนอก, Early Warning Score

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และประเมินประสิทธิผลของแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในผู้ป่วยนอก การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์ 25 คน ผู้ป่วยและญาติ 170 คน และผู้เชี่ยวชาญ 4 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน แบบบันทึกการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วย แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกอุบัติการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนก่อนและหลังการพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในผู้ป่วยนอก

ผลการวิจัยพบว่า การใช้แนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในผู้ป่วยนอก: EWS-ABCDE Integrated Surveillance Model เพิ่มอัตราการตรวจพบอาการทรุดลงจากร้อยละ 15.00 เป็นร้อยละ 28.00 (χ2 = 10.02, p<0.001) ลดระยะเวลาในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอาการจาก 22.5 นาทีเป็น 12.8 นาที และลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินลงร้อยละ 60 บุคลากรมีความพึงพอใจต่อแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในระดับมากถึงมากที่สุด (M=4.48, S.D.=0.63) ซึ่งแนวทาง EWS-ABCDE Integrated Surveillance Model มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยนอก จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน และควรมีการศึกษาผลลัพธ์ในระยะยาวต่อไป

References

นันทิดา พันธุศาสตร์, & ราตรี ทองยู. (2560). การป้องกันความผิดพลาดและพัฒนาระบบการเฝ้าระวังผู้ป่วย. สำนักการพยาบาล.

กัลยารัตน์ หล้าธรรม, & ชัจคเณค์ แพรขาว. (2560). การคัดแยกที่ต่ำกว่าและสูงกว่าเกณฑ์ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. โรงพยาบาลศรีนครินทร์.

ปวีณ นราเมธกุล. (2556). แนวทางการพัฒนาการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย. กระทรวงสาธารณสุข.

จีรยา ต่างกลาง. (2559). การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการทรุดลง. สำนักการพยาบาล.

Basch, E., et al. (2016). Use of patient-reported outcomes to improve the quality of care for patients with cancer. Journal of Clinical Oncology.

BMC Medical Informatics and Decision Making. (2019). Early warning score validation methodologies and performance metrics: a systematic review. BMC Medical Informatics and Decision Making. Retrieved from https://bmcmedinformdecismak.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12911-019-0806-8

Odell, M. (2015). Rapid Response Systems: The Role of Nurses. Journal of Advanced Nursing.

Taniguchi, et al. (2021). Nursing support for patients with chronic heart failure to monitor their own symptoms. Journal of Cardiac Failure.Frontiers in Medicine. (2021).

PLOS ONE. (2021). The use of early warning system scores in prehospital and emergency department settings to predict clinical deterioration: A systematic review and meta-analysis. PLOS ONE. Retrieved from https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0246320

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-05