ผลของโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด

ผู้แต่ง

  • พรรณี ยาท้วม โรงพยาบาลพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ, วัณโรคปอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลพิชัย จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามและโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับวัณโรค แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค นอกจากนี้ ความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.0 เป็นร้อยละ 100.0 โปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีประสิทธิผลในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด

References

กองวัณโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์วัณโรคเดือนมีนาคม. https://www.tbthailand.org/

download/form/รายงานสถานการณ์วัณโรคเดือนมีนาคม.pdf

ขวัญใจ ม่อนไธสง. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอดที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 306-314.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1980). Social behavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Medical Care, 18(5), 623-637.

Chen, W., Zhang, H., & Li, C. (2022). Implementation of Health Belief Models (HBM) Education for Tuberculosis Patients at the Tamansari Primary Health Care, Tasikmalaya City. ABDIMAS: Jurnal Pengabdian Masyarakat, 4(2), 1120. https://doi.org/10.35568/abdimas.v4i2.1120

Li, Y., Liu, X., Wang, Z., & Zhao, Y. (2020). Effects of Education Programs on Awareness and Behavior in Patients with Tuberculosis. Journal of Quality in Public Health, 5(1), 261. https://doi.org/10.30994/jqph.v5i1.261

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2011). Health Promotion in Nursing Practice (6th ed.). Pearson.

Strecher, V. J., & Rosenstock, I. M. (1997). The health belief model. In K. Glanz, F. M. Lewis, & B. K. Rimer (Eds.), Health behavior and health education: Theory, research, and practice (pp. 31-36). Jossey-Bass.

Tang, X., Wang, Q., Chen, M., Qian, X., & Huang, J. (2019). Application of Health Belief Model in Improving Patients' Pulmonary Tuberculosis Knowledge and Behavior. PLoS ONE, 14(2), e0211728. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0211728

World Health Organization. (2018). Global Tuberculosis Report. Geneva: WHO.

World Health Organization. (2021). Global tuberculosis report 2021. https://www.who.int/publications/i/item/9789240037021

Zhang, S., Li, X., & Zhu, Y. (2021). Application of KTH-integrated Nursing Model in Care of Patients with Multi-drug Resistant Tuberculosis. American Journal of Translational Research, 13(6), 6855-6863.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-05