การพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดส่วนปลาย หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สมฤดี คงสกุล โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, สารน้ำทางหลอดเลือดส่วนปลาย, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดส่วนปลาย 2) เพื่อประเมินผลของการใช้แนวปฏิบัติในการลดอัตราการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลและผู้ป่วยต่อการใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ดำเนินการใน 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนาแนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล ใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติและการสนทนากลุ่ม 2) การนำแนวปฏิบัติไปใช้และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 15 คน และผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด จำนวน 100 คน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ และสัมภาษณ์เชิงลึก และ 3) การประเมินผลและสรุปผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน เชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติ SMART-IV ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากร้อยละ 15 เหลือร้อยละ 7 และลดอัตราการติดเชื้อจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 3 (p<0.01) ระยะเวลาการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอาการลดลงจาก 22.5 นาที เหลือ 12.8 นาที คะแนนการปฏิบัติของพยาบาลเพิ่มขึ้นจาก 8.0 เป็น 9.5 คะแนน พยาบาลและผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติในระดับสูง ซึ่งแนวปฏิบัติ SMART-IV มีประสิทธิภาพในการลดภาวะแทรกซ้อนและเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดส่วนปลาย จึงควรส่งเสริมการนำไปใช้ในหน่วยงานอื่นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

References

กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารวิจัยทางการพยาบาล, 5(1), 52-60.

ณิชาภา หน่อตุ้ย และคณะ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(2), 12-20.

ฐิติรัตน์ ลิ้มสินทวีคุณ. (2566). การลดอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการแพทย์และสุขภาพ, 13(2), 78-85.

เพ็ญศรี นิลขำ. (2567). การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 15(3), 115-123.

ลัดดาวัลย์ นรสาร. (2567). การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการลดภาวะแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. วารสารการพยาบาล, 34(1), 43-50.

วิลาวัลย์ สุขศิลป์, อรวรรณ สมบูรณ์จิต, และ สลักจิต สุวรรณศรีสกุล. (2563). การส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(4), 88-95.

Abolfotouh, M. A., Salam, M., Bani-Mustafa, A., White, D., & Balkhy, H. H. (2014). Prospective study of incidence and predictors of peripheral intravenous catheter-induced complications. Therapeutics and Clinical Risk Management, 10, 993–1001.https://doi.org/10.2147/

TCRM.S74685

Centers for Disease Control and Prevention. (2015). Central line-associated bloodstream infections (CLABSI) data and statistics. Retrieved from https://www.cdc.gov/hai/bsi/clabsi-resources.html

Corbett, J., Blegen, M., & Qaseem, A. (2018). The effect of solution pH and osmolarity on intravenous infusion phlebitis rates. Journal of Infusion Nursing, 41(5), 289-295. https://doi.org/10.1097/NAN.0000000000000294

Lim, S. H., Tay, Y. Y., Pua, L. H., & Kee, C. C. (2019). The prevalence and risk factors of peripheral intravenous catheter-related complications among hospitalized adults: A single-center observational study. Journal of Clinical Nursing, 28 (13-14), 2238-2246. https://doi.org/10.1111

/jocn.14841

Monegro, A. F., Muppidi, V., & Regunath, H. (2023). Hospital-acquired infections. StatPearls [Internet]. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK441857/

Tacconelli, E., Müller, N., Lemmen, S., Mutters, N., Hagel, S., & Meyer, E. (2016). Infection Risk in Sterile Operative Procedures.. Deutsches Arzteblatt international, 113 16, 271-8 . https://doi.org/10.3238/arztebl.2016.0271.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-05

How to Cite

คงสกุล ส. (2024). การพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดส่วนปลาย หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข, 2(2), 118–131. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2869