ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ ยศสุวรรณ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  • สุมลฑา จันทร์คำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาล, หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ, นอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine)

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ประชากร คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง จำนวน 17 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine ที่เข้ามารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง จำนวน 60 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯชุดเดิม กับกลุ่มทดลอง 30 คน ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคว์สแควร์ เทสต์ที่ระดับนัยสำคัญ .05

ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบได้อย่างมีประสิทธิผล โดยกลุ่มทดลองพบอุบัติการณ์น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 3.3 เทียบกับร้อยละ 20.0) เมื่อวิเคราะห์อัตราส่วนความเสี่ยง (OR) พบว่ากลุ่มทดลองมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 0.14 เท่า (95% CI: 0.02-1.22) นอกจากนี้ พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมการพยาบาลนี้ในระดับมากที่สุด (M=4.66, S.D.=0.27) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine

References

กาญจนา อุดมอัษฎาพร, & มยุรี พรมรินทร์. (2561). ประสิทธิผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดดำและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดดำจากการใช้ยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(1), 35-45.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2559). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการกับการเกิดภาวะ extravasation ในผู้ป่วยที่ได้รับยาหรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ extravasation. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 81-95.

นภสริ ดวงสมสา. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิ์ประสงค์, 2(1), 64-81.

ปาจรีย์ ศักดิ์วาลี้สกุล, และ อุษณีย์ ศิริวงศ์พรหม. (2562). ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับยานอร์อีพิเนฟริน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2), 92-108.

พฤฒิพงศ์ ปวราจารย์, ยุทธนา โค้วจิริยะพันธุ์, และ เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาเริ่มบริหารยา Norepinephrine กับการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 2(1), 47-56. [https://www.niems.go.th/1/uploadattachfile/2022/

ebook/415878_20220704134655.pdf]

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, ดารารัตน์ ดำรงกุลชาติ, รัชนีย์ วงศ์แสน, และคณะ. (2557). การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย. พยาบาล สาร, 41(พิเศษ), 71-87.

สมพร อยู่ดี. (2564). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 5(1), 62-72.

INS. (2016). Infusion Therapy Standards of Practice [Electronic version]. Journal of Infusion Nursing, January/February, 39(1S), s1-159.

Loubani, O. M., & Green, R. S. (2015). A systematic review of extravasation and local tissue injury from administration of vasopressors through peripheral intravenous catheters and central venous catheters. Journal of critical care, 30(3), 653.e9–653.e17. https://doi.org/10.1016/

j.jcrc.2015.01.014

Villalba-Nicolau, M., Chover-Sierra, E., Saus-Ortega, C., Ballestar-Tarín, M. L., Chover-Sierra, P., & Martínez-Sabater, A. (2022). Usefulness of Midline Catheters versus Peripheral Venous Catheters in an Inpatient Unit: A Pilot Randomized Clinical Trial. Nursing reports (Pavia, Italy), 12(4), 814–823. https://doi.org/10.3390/nursrep12040079

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-14