ผลการใช้แนวทางพยาบาลทางคลินิกในการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนต่ออาการทรุดลงของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยพิเศษพรีเมี่ยม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลง, การประเมินสัญญาณเตือนก่อนภาวะวิกฤต, หอผู้ป่วยพิเศษพรีเมียมบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการพยาบาลทางคลินิกในการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนต่ออาการทรุดลงของผู้ป่วย และเปรียบเทียบอุบัติการณ์เกิดอาการทรุดลงและจำนวนการย้ายออกของผู้ป่วยที่ได้รับแนวทางการพยาบาลทางคลินิกในการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนต่ออาการทรุดลงของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยพรีเมียม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม 1) กลุ่มผู้ป่วย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยก่อนการใช้แบบประเมิน SOS score จำนวน 40 ราย ที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วย ระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2567 และกลุ่มทดลอง คือ ผู้ป่วยการใช้แบบประเมิน SOS score จำนวน 40 ราย ที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วย ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบด้วยสถิติไคสแควร์ และ paired t - test
ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ผลการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนต่ออาการทรุดลงของผู้ป่วย ด้วยสัญญาณเตือนภาวะวิกฤติและ SOS score ได้แก่ อัตราการเต้นของชีพจร อัตราการหายใจ ค่าความดันโลหิตซิสโตลิค จำนวนปัสสาวะเฉลี่ยใน 4 ชั่วโมง ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่อุณหภูมิร่างกายและคะแนนเฉลี่ย SOS โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) อุบัติการณ์อาการทรุดลง ภาวะแทรกซ้อนและจำนวนการย้ายออกของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยพิเศษพรีเมียม ได้แก่ ใจคอไม่ดี ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิร่างกายสูง อุณภูมิร่างกายต่ำ เวียนศีรษะ ออกซิเจนปลายนิ้วต่ำกว่า 95 % ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่หายใจไม่สะดวก การไม่รู้สึกตัว สำหรับอาการทรุดลง ใส่ท่อช่วยหายใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ด้านการย้ายออกนอกหอผู้ป่วยพรีเมียม พบว่า กลุ่มทดลองย้ายออกนอกหอผู้ป่วยพิเศษพรีเมียมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่การย้ายไปหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วย ICU ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) และไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตที่หอผู้ป่วยพรีเมียม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
References
World Health Organization. Towards eliminating avoid¬able harm in health care. [Internet]. 2021[cited 2022 December 5]. 108 p. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240032705
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาล และบริการสุขภาพ ฉบับที่4. นนทบุรี: สถาบันรับรอง คุณภาพสถานพยาบาล; 2560.
ดาราวรรณ นงค์พาน. การพัฒนาแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกงไกรลาศ. โรงพยาบาลกงไกรลาศ. 2565สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2566, จาก https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2566/cqi/MA2566-004-03-0000000869-0000001437.pdf
Mathukia C, Fan WQ, Vadyak K, Biege C, Krishnamur¬thy M. Modified early warning system improves patient safety and clinical outcomes in an academic community hospital. Community Hospital Intern Med Perspect. [In¬ternet]. 2015 [cited 2022 Jan 3]; 5(2):1-6. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC4387337
Wang AY, Fang CC, Chen SC, Tsai SH. Periarrest Modified Early Warning Score (MEWS) predicts the outcome of in-hospital cardiac arrest. J Formos Med Assoc. [Internet]. 2016[cited 2022 Jan 10] ; 115(2): 76-82. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.
gov/26723861
หอผู้ป่วยพิเศษพรีเมี่ยม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. (2566). ข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยหอพิเศษพรีเมี่ยม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. โรงพยาบาลอุตรดิตถ์.
สมไสว อินทะชุบ, ดวงพร โพธิ์ศรี. ศึกษาผลการใช้ Modified Early Warning Score (MEWS) SOSScore,2566จากhttps://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/256 6/cqi/MA2566-004-03-0000000869-0000001437.pdf
พนิดา จันทรัตน์, เพ็ญแข รัตนพันธ์. ศึกษาการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ในโรงพยาบาลสงขลา, 2566 สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2566, จาก https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2566/cqi/MA2566-004-03-0000000869-0000001437.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.