ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ความดันโลหิตและอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3

ผู้แต่ง

  • พรพิมล นาคะ โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, โรคไตเสื่อมระยะที่ 3, โปรแกรมการจัดการตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ความดันโลหิต และอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 30 คน ที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเอง โปรแกรมการจัดการตนเอง และเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-tests

ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังและพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลงและอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) จะเห็นได้ว่า โปรแกรมการจัดการตนเองที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีความรู้และความสามารถในการจัดการตนเอง ทำให้ความดันโลหิตลดลงและอัตราการกรองของไตดีขึ้น พฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเองในด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการรับประทานยาเพิ่มขึ้น

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2566). คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. กระทรวงสาธารณสุข.

สุนิสา สีผม, วรรณภา ประไพพานิช, พูลสุข เจนพานิชย์ และวรางคณา พัชยวงศ์. (2557). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความเสื่อมของไตต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 25(1), 16-31.

เพ็ญพร ทวีบุตร. (2560). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 129-145.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. ยูเนียนอุลตร้าไวโอเล็ต.

อติเทพ ผาติอภินันท์, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, และวีนัส ลีฬหกุล. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและความดันโลหิต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 29(2), 12-27.

Abegaz, T. M., Shehab, A., Gebreyohannes, E. A., Bhagavathula, A. S., & Elnour, A. A. (2017). Nonadherence to antihypertensive drugs: A systematic review and meta-analysis. Medicine, 96(4), e5641. https://doi.org/10.1097/MD.0000000000005641

Briesch, A. M., & Chafouleas, S. M. (2009). Review and analysis of literature on self-management interventions to promote appropriate classroom behaviors (1988-2008). School Psychology Quarterly, 24(2), 106-118. https://doi.org/10.1037/a0016159

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.

Costantini, L., Beanlands, H., McCay, E., Cattran, D., Hladunewich, M., & Francis, D. (2008). The self-management experience of people with mild to moderate chronic kidney disease. Nephrology Nursing Journal, 35(2), 147-155.

Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). Self-management methods. In F. H. Kanfer & A. P. Goldstein (Eds.), Helping people change: A textbook of methods (4th ed., pp. 305-360). Pergamon Press.

Kanfer, F. H. (2000). Self-management therapy: Orchestration of basic components for individual clients. European Psychotherapy, 1(1), 10-14.

Swerissen, H., Belfrage, J., Weeks, A., Jordan, L., Walker, C., Furler, J., McAvoy, B., Carter, M., & Peterson, C. (2006). A randomized control trial of a self-management program for people with a chronic illness from Vietnamese, Chinese, Italian and Greek backgrounds. Patient Education and Counseling, 64(1-3), 360-368. https://doi.org/10.1016/j.pec.2006.04.003

World Health Organization. (2015). Noncommunicable diseases progress monitor 2015.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-16