ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน จากโรงพยาบาลสู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ สุขจิตต์ โรงพยาบาลท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน, การดูแลจากโรงพยาบาลสู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านและผู้ดูแล จำนวน 25 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลท่าปลา ระยะเวลาการศึกษา 4 สัปดาห์
แบ่งการดูแลเป็น 2 ระยะ คือ ระยะรักษาในโรงพยาบาลและระยะติดตามเยี่ยมที่บ้านพร้อมให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการดูแล แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และแบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ โดยแบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและ Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน ภายหลังได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.246, p < .032) ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน ภายหลังได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม ฯ (t = -9.09, p < .01) อัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยอยู่ในระดับต่ำ โดยมีเพียง 2 รายที่ต้องกลับมารักษาซ้ำ จะเห็นได้ว่า โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านช่วยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและเพิ่มความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของผู้ดูแลได้

References

จารึก ธานีรัตน์. (2545). ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ณีรนุช วงค์เจริญ, ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์, และพิสิษฐ์ สมงาม. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(04), 61-61

ธีรนุช ห้านิรัติศัย, และปริญญา แร่ทอง. (2556). การรับรู้ความพร้อมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(7), 634-639.

บุษยมาส บุศยารัศมี. (2561). ความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตเทศบาลนครนครปฐม. วารสารแพทย์ เขต 4-5, 37(2), 192-200.

พัชราภรณ์ สิรินธรานนท์. (2558). ผลของโปรแกรมการสอนแนะผู้ดูแลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

วาสนา มูลฐี, สุปรีดา มั่นคง, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม และสิริรัตน์ ลีลาจรัส. (2559). ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้ป่วย. วารสารสภาการพยาบาล , 31(1), 95-110.

วลัยนารี พรมล. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สายใจ จารุจิตร, ราตรี อร่ามศิลป์ และวรรณศิริ ประจันโน. (2562). รูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงตาม ปัญหาและความต้องการของผู้ดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 30(1), 54-68.

สุปรีดา มั่นคง, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, และสิริรัตน์ ลีลาจรัส. (2559). การประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(3), 84-101.

สุพัตรา ปวนไฝ, ศรีวรรณา วงค์เจริญ, นิรมัย มณีรัตน์ และวราพร นนทศิลา. (2561). ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยสูงอายโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิต. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(3), 500-509.

Coleman, E. A., & Boult, C. (2003). Improving the quality of transitional care for persons with complex care needs. Journal of the American Geriatrics Society, 51(4), 556-557.

Dharmasaroja, P. (2012). Ischemic stroke. Bangkok: Jaransanitwong.Farahvar, A., Gerber, L. M., Chiu, Y. L., Carney, N., Härtl, R., & Ghajar, J. (2012). Increased mortality in patients with severe traumatic brain injury treated without intracranial pressure monitoring. Journal of Neurosurgery, 117(4), 729-734. doi: 10.3171/2012.7.JNS111816.

Jitapunkul, S., Kamolratanakul, P., & Ebrahim, S. (1994). The meaning of activities of daily living in a Thai elderly population: development of a new index. Age and Ageing, 23(2), 97-101. doi: 10.1093/ageing/23.2.97

Li, J., Zhang, P., Wu, S., Wang, Y., Zhou, J., Yi, X., & Wang, C. (2019). Stroke-related complications in large hemisphere infarction: incidence and influence on unfavorable outcome. Therapeutic Advances in Neurological Disorders, 12(3), 224-235.

National Stroke Association. (2017). Effects of stroke. retrieved from http://www.stroke.org/site/

PageServer?pagename=effects

Naylor, M. D., Brooten, D. A., Campbell, R. L., Maislin, G., McCauley, K. M., & Schwartz,J. S. (2004). Transitional care of older adults hospitalized with heart failure: A randomized, controlled trial. Journal of the American Geriatrics Society, 52(5), 675-684.

Wang, Y., Yang, F., Shi, H., Yang, C., & Hu, H. (2017). What Type of Transitional Care Effectively Reduced Mortality and Improved ADL of Stroke Patients? A Meta - Analysis. International Journal of Environmental Research and Public Health, 14(5), 510-518.

World Health Organization. (2021). Stroke Cerebrovascular accident health topic. retrieved from http://www. who.int./topics/cerebrovascular_accident/en/

Yan, T., Liu, C., Li, Y., Xiao, W., Li, Y., & Wang, S. (2018). Prevalence and predictive factors of urinary tract infection among patients with stroke: a meta-analysis. American Journal of Infection Control, 46(4), 402-409.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-16