ผลของการใช้แนวปฏิบัติการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจต่อระยะเวลาการรอคอยงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติเฝ้าระวังอาการทรุดลง, ระยะเวลารอคอย, พยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจต่อระยะเวลาการรอคอย ในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาล 9 คนและผู้ป่วย 200 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแนวปฏิบัติการเฝ้าระวัง แบบบันทึกข้อมูล และแบบประเมินการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบ pair t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้แนวปฏิบัติ ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญในทุกกลุ่มผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินที่ลดลง 10.4 นาที สัดส่วนผู้ป่วยที่รอเกินเกณฑ์ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยวิกฤตที่ลดลงจากร้อยละ 60 เหลือร้อยละ 10 จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงลดลงร้อยละ 37.5 และการจัดการอาการทรุดลงมีประสิทธิภาพมากขึ้น สรุปได้ว่า แนวปฏิบัติการเฝ้าระวังช่วยลดระยะเวลารอคอย ลดจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการอาการทรุดลง ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินมีคุณภาพและปลอดภัยมากขึ้น
References
นันธิดา พันธุศาสตร์ และ ราตรี ทองยู. (2560). แนวปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานความปลอดภัย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(2), 1-13.
วัชรีย์ ไกรสิงห์เดชา. (2562). การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจของห้องตรวจศัลยกรรม กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข. 1(1), 40-52
สำนักการพยาบาล. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Ebben, R., Vloet, L., Verhofstad, M., Meijer, S., Groot, J., & Achterberg, T. (2013). Adherence to guidelines and protocols in the prehospital and emergency care setting: a systematic review. Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine, 21, 9 - 9. https://doi.org/10.1186/1757-7241-21-9.
Hudson, P., Ekholm, J., Johnson, M., & Langdon, R. (2015). Early identification and management of the unstable adult patient in the emergency department. Journal of Clinical Nursing, 24(21-22), 3138-3146. https://doi.org/10.1111/jocn.12916
Lourenço, L., Meszaros, M., Silva, M., & São-João, T. (2023). Nursing training for early clinical deterioration risk assessment: Protocol for an implementation study. JMIR Research Protocols, 12, e47293. https://doi.org/10.2196/47293
McGaughey, J., Fergusson, D. A., Van Bogaert, P., & Rose, L. (2021). Early warning systems and rapid response systems for the prevention of patient deterioration on acute adult hospital wards. The Cochrane Database of Systematic Reviews, 11(11), CD005529. https://doi.org/10.1002/14651858.CD005529.pub3
Odell, M. (2010). Are early warning scores the only way to rapidly detect and manage deterioration? Nursing Times, 106(8), 24-26.
Odell, M. (2015). Detection and management of the deteriorating ward patient: An evaluation of nursing practice. Journal of Clinical Nursing, 24(1-2), 173-182. https://doi.org/10.1111/jocn.12655
Rayo, M., Mansfield, J., Eiferman, D., Mignery, T., White, S., & Moffatt-Bruce, S. (2015). Implementing an institution-wide quality improvement policy to ensure appropriate use of continuous cardiac monitoring: a mixed-methods retrospective data analysis and direct observation study. BMJ Quality & Safety, 25, 796 - 802. https://doi.org/10.1136/bmjqs-2015-004137.
Reich, E., Then, K., & Rankin, J. (2018). Barriers to Clinical Practice Guideline Implementation for Septic Patients in the Emergency Department. Journal of Emergency Nursing, 44, 552–562. https://doi.org/10.1016/j.jen.2018.04.004.
Subeq, Y., Choi, W., Shih, C., & Lee, R. (2018). [Introduction of Clinical Practice Guidelines for Emergency Patients].. Hu li za zhi The journal of nursing, 65 4, 5-10. https://doi.org/10.6224/JN.201808_65(4).02.
The Royal College of Surgeons of England. (2017). Outpatient clinics: A guide to good practice. The Royal College of Surgeons of England.
White, K., Szumita, P., Gilboy, N., Keenan, H., & Arbelaez, C. (2011). Implementation of a guideline for the treatment of pain, sedation, agitation and neuromuscular blockade in the mechanically ventilated adult patient in the emergency department. Open Access Emergency Medicine : OAEM, 3, 21 - 27. https://doi.org/10.2147/OAEM.S17042.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.