ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ในกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • สุฤทัย อ้นน้อย โรงพยาบาลพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การแพทย์ฉุกเฉิน, อาสาฉุกเฉินชุมชน, การพัฒนาความรู้และทักษะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินในกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน และเปรียบเทียบความรู้และทักษะก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 54 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น และแบบทดสอบความรู้และทักษะการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยอยู่ในระดับสูงร้อยละ 62.9 ความรู้และทักษะการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บฉุกเฉินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยอยู่ในระดับสูงร้อยละ 40.7 และการทดสอบภาคปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 สรุปได้ว่า โปรแกรมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินมีประสิทธิภาพในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะของอาสาฉุกเฉินชุมชน ช่วยยกระดับความสามารถในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน

References

บรรจง กาวิละพูล. (2561). ผลของโปรแกรมการสร้างเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินต่อความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินในกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชนตำบลป่าตุ้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา)http://updc.clm.up.ac.th/handle/123456789/1781

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

วิชญ์ สิริโรจน์พร, ธนพรรณ วงษา, จุฑารัตน์ คำมี, & กมลวรรณ คำอ้าย. (2564). โครงการการผลิตต้นแบบอาสาสมัครฉุกเฉินเพื่อดูแลชุมชน (Traine of the training). สานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.); บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด.

ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร. (2562). คู่มือการปฏิบัติงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ).

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2565-2569.กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น.

อดิศักดิ์ นิธิเมธาโชค. (2018). อัตราการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและผู้ป่วยวิกฤตฺในเขตเมือง. วชิระเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 62, 85-96.

Lee, H., Kim, S., & Park, J. (2020). Effectiveness of group-based BLS training in enhancing knowledge, skills, and experience sharing among community participants in South Korea. Korean Journal of Emergency Medicine, 33(2), 45-53. doi:10.3346/kjem.2020.33.2.45

Mueller, T., Schmidt, A., & Weber, H. (2018). The role of AED and CPR training in increasing knowledge, skills, and confidence in emergency situations in Germany. European Journal of Emergency Medicine, 25(4), 198-204. doi:10.1097/MEJ.0000000000000501

Smith, J., Brown, L., & Davis, P. (2019). The impact of BLS training on knowledge, skills, and confidence among community volunteers in the United States. Journal of Emergency Medicine, 45(3), 123-130. doi:10.1016/j.jemermed.2019.02.012

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-21