ผลของโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิชัย
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมอง, โปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำ, พฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิชัย โดยมุ่งเน้นการศึกษาความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ และเปรียบเทียบการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกัน และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือขาดเลือดครั้งแรก อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 16 คน ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลพิชัย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรม และพฤติกรรมการป้องกัน และแบบประเมินระดับ
ความเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ Wilcoxon signed-rank test
ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยมีการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกัน และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยค่าเฉลี่ยของการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มจาก 10.81 เป็น 16.88 การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกันเพิ่มจาก 13.13 เป็น 17.63 และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำเพิ่มจาก 37.88 เป็น 52.63 สรุปได้ว่าโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำมีประสิทธิภาพในการเพิ่มการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกัน และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแผนการดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในสถานพยาบาลอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการกลับเป็นโรคซ้ำ
References
กานต์ธิชา กาแพงแก้ว. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้อาการเตือนและพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
จิราวรรณ วิริยะกิจไพบูลย์. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤษ์) สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 6.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม.กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
สุวิตรา สร้างนา (2557) ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2558).ประเด็นสารวันรณรงค์อัมพาตโลกปี พ.ศ. 2558 (ปีงบประมาณ 2559). ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2559, จาก http://www.thaincd.com/document/file/info/noncommunicable-disease/Stroke58.pdf.
หัสยาพร มะโน. (2552). การรับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลลอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abraham, C. & Sheeran, P. (2015). The Health belief Model. Retrieved on: 24 September2023, from https://www.researchgate.net/publication/290193215_The_Health_Belief_Model
Becker, M.H., Maiman, L.A., Kirscht, J.P., Haefner, D.P., & Drachman, R.H. (198). The Health Belief Model and prediction of dietary compliance: a field experiment. Journal of Health and Social Behavior, 348-366.
Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2012). Prevalence of stroke: United States, 2006–2010. MMWR Morb Mortal Wkly Rep, 61:379–82.
Chayawatto C. (2016). Depression in the caregivers of stroke patients.Region 4-5 Medical Journal, 35:14-27. (in Thai)
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). USA: Lawrence Erlbaum associates.
Ministry of public health. (2020). Division of strategy and planning, Office of the permanent Secretary, Reported public health status of Thailand 2020. Bangkok: the printing office to assist veterans organization.
Ministry of public health. (2018). Division of non-communicable diseases, Department of Disease Control. Reported number and rate of inpatients with stroke. Bangkok: the printing office to assist veterans organization; Available from: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020
Naylor M, Shaid EC, Carpenter D, Gass B, Levine C, Li J, et al. (2017). Components of comprehensive and effective transitional Care. J Am GeriatrSoc [internet]. [cited 2021/11/9].65;1119-1125. Available from: https://www.researchgate.net/publication/315776473
Yubolchit N, Praekhao C, Tiamkao S. (2019). Quality of life of acute ischemia stroke patients in middle secondary hospital in health region 7. North-Eastern Thai Journal of Neuroscience, 14: 15-36. (in Thai)
Sullivan, K. A., White, K. M., Young, R. M., Chang, A., Roos, C., & Scott, C. (2008). Predictors of Intention to Reduce Stroke Risk Among People at Risk of Stroke: An Application of an Extended Health Belief Model. Rehabilitation Psychology, 53(4), 505-51
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.