ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีที่นำลูกมาเข้ารับบริการในโรงพยาบาลบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • บุญศรี จันทร์เพ็ญ โรงพยาบาลนบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, พฤติกรรม, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีที่นำลูกมาเข้ารับบริการในโรงพยาบาลบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ สตรีที่มีลูกอายุ  2 เดือนถึง 2 ปี 6 เดือนและเคยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่นำลูกมาเข้ารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีและแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 107 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ1) ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 2) ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ 3) ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ 4) พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ วิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคร์-สแควร์ (Chi-square test)

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.9 มีทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระดับปานกลาง ร้อยละ 63.6 กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับปานกลางและระดับดี ร้อยละ 53.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีที่นำลูกมาเข้ารับบริการในโรงพยาบาลบางขัน พบว่า ระดับการศึกษา จำนวนการตั้งครรภ์ จำนวนบุตร รายได้ของครอบครัว การได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนอายุแม่ อายุลูก ศาสนา อาชีพ โรคประจำตัว วิธีการคลอด การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

References

ชลรส เจริญรัตน์. (2557). Breastfeeding (การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่). สืบค้นจากw1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestipics/topic-review/2969/ สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567

ณิชาพร ทิพสิงห์ , ศิริวรรณ แสงอินทร์ และพิริยา ศุภศรี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมอย่างเดียว 4- 6 สัปดาห์หลังคลอด ในมารดาที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนก่อนตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 31 (1) .

ณัฏพรรณ โภคบุตร. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และพฤติกรรมการให้อาหารเสริมทดแทนนมแม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

นวพร มามาก และกมลรัตน์ เทอร์เนอร์.(2559). บทบาทพยาบาลกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามีหรือญาติเพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่.วารสารกองการพยาบาล.; 43 : 114-126.

นันทิยา วัฒายุ. (2555).การสนับสนุนของครอบครัว ชุมชนและสังคมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. โครงการ ตำราคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร: พรี – วัน.

ประชุมพร สุวรรณรัตน์. (2558). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและมารดาหลังคลอด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสงขลา : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;.

พัตนี วินิจจะกูลและ อรพร ดำรงวงศ์ศิริ. (2563). สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา พุทธมณฑลนครปฐม 2 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัย. มหิดลวารสารโภชนาการ ; 55 : 66-81.

ภัทรพร ชูประพันธ์, วีณา เที่ยงธรรม และปาหนัน พิชยภิญโญ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ชองแม่ในเขตภาคกลางตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาลัยมหิดล

ภาวิน พัวพรพงษ์. (2556). รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. สืบค้นจาก guruobgyn.com/about-us/ สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567.

รณชัย คนบุญ และ สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทบิดาต่อ พฤติกรรมการสนับสนุนของบิดาและระยะเวลาในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาอย่างเดียว. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ; 40 : 41-52.

ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัยและคณะ (2564). การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัว.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ; 18 (3).99-112.

ลักขณา ไชยนอก.(2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (รายงานวิจัย สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและ ผดุงครรภ์สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี.

วิภาดา กาญจนสิทธ์ และปัณณทัต บนขุนทด. ( 2562). ความรู้ ทัศนคติของมารดาหลังคลอดปกติที่เลี้ยงลูกด้วนนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือน. หอผู้ป่วย โรงพยาบาลบุรีรัมย์.

วีณา จีระแพทย์และเกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. (2563). กลวิธีสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพลส จำกัด.

เว็บไซต์โรงพยาบาลสงขลา. (2557). การเตรียมตัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567

สุรีย์พร กฤษเจริญ, ศศิกานต์ กาละ, รางคณา ชัชเวช, ศิริไพ พฤกษะศรี และชุลีรัตน์ เพชรวัชระไพบูลย์. (2564). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับมารดาวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์; 40 (4). 85-96.

สุนันทา ชุ่มจิตร. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครบ 6 เดือนในมารดาหลังคลอดที่มีบุตรอายุ 6 เดือนขึ้นไป. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. (2563). โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562, รายงานผลฉบับ สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย

UNICEF (2021). Infant and young child feeding. Retrieved 1 November 2021, Available from : https://data.unicef.org/topic/nutrition/infant-and-young-child-feeding/

World Health Organization. (2021). Breastfeeding. Retrieved 1 November 2021, Available from : www.who.int/topics/breastfeeding/en

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-15