การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กงเพชร ขุนเขียว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และระยะที่ 3 ประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 31 คน ระยะเวลาการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบ t-test

ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.8) และพฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 86.5) ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 สัปดาห์ ครอบคลุมการพัฒนาทักษะ 5 ด้านของความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยเฉพาะในด้านการเข้าใจข้อมูลสุขภาพ (p = 0.002) การตรวจสอบข้อมูลสุขภาพ (p = 0.015) การจัดการข้อมูลสุขภาพ (p = 0.028) และความรอบรู้ด้านสุขภาพรวม (p = 0.026) ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพมีประสิทธิผลในการเพิ่มระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้สูงอายุ โดยการออกแบบกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม การฝึกปฏิบัติจริง และการพัฒนาทักษะแบบบูรณาการครอบคลุมทั้ง 5 ด้านของความรอบรู้ด้านสุขภาพ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). จำนวนและอัตราการตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565, จาก http://www.thaincd.com

กองสุขศึกษา. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพ. วารสารสุขศึกษา, 19(1), 10-25.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). แนวทางการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2565). คาดการณ์อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565, จาก http://www.thaincd.com

ศูนย์อนามัยที่ 2. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565, จาก http://www.thaincd.com

สุนีย์ ละกำปั่น, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, และวรรณา คงสุริยะนาวิน. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(3), 15-30.

วิราภรณ์ โพธิศิริ, วันเพ็ญ แก้วปาน, และสุรีย์ ธรรมิกบวร. (2563). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 36(2), 224-237.

อังศุมา อภิชาโต, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, และนิตยา ตากวิริยะนันท์. (2564). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(1), 428-436.

American Heart Association. (2022). Heart disease and stroke statistics – 2022 update: A report from the American Heart Association. Journal of the American Heart Association. https://www.ahajournals.org

Brown, L. D., Vasquez, D., Salinas, J. J., Tang, X., & Balcázar, H. (2018). Evaluation of healthy fit: A community health worker model to address Hispanic health disparities. Preventing Chronic Disease, 15, E49. https://doi.org/10.5888/pcd15.170437

Health Data Center (HDC). (2566). การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565, จาก https://nki.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

Johnson, S. E., Baur, C., & Meissner, H. I. (2021). Exploring the relationship between health literacy and health-related quality of life in a vulnerable population. Journal of Health Communication, 26(1), 1-9. https://doi.org/10.1080/10810730.2020.1865482

Kanejima, Y., Shimogai, T., Kitamura, M., Ishihara, K., & Izawa, K. (2022). Systematic review and meta-analysis on health literacy and cardiovascular disease outcomes. Journal of Cardiovascular Nursing, 37(5), 425-435. https://doi.org/10.1097/JCN.0000000000000835

Kim, S. H., Lee, A., & Chu, S. H. (2020). Effects of a health literacy-considered diabetes self-management program for older adults with diabetes in South Korea. Research in Gerontological Nursing, 13(2), 95-104. https://doi.org/10.3928/19404921-20191206-03

Lee, Y. J., Shin, S. J., Wang, R. H., Lin, K. D., Lee, Y. L., & Wang, Y. H. (2022). Effectiveness of a health literacy-based self-management program for patients with poorly controlled type 2 diabetes: A randomized controlled trial. Patient Education and Counseling, 105(3), 608-617. https://doi.org/10.1016/j.pec.2021.08.020

Nakapong, T., Srichang, S., & Jumprakarw, S. (2010). Risk factors and prevention behaviors for cardiovascular diseases in Thai population. Journal of Preventive Medicine, 39(2), 98-104.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078. https://doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050

Punset, R., Klinthuesin, W., Kingkaew, P., & Wongmaneeroj, P. (2013). Factors influencing cardiovascular disease among elderly people in Thailand. Journal of Public Health, 45(3), 178-185.

Smith, C. A., Chang, E., Gallego, G., & Balneaves, L. G. (2019). An education intervention to improve health literacy and decision making about supporting self-care among older Australians: A study protocol for a randomised controlled trial. Trials, 20(1), 1-8. https://doi.org/10.1186/s13063-018-3103-6

World Health Organization. (2016). Cardiovascular diseases (CVDs): Key facts. สืบค้นจาก https://www.who.int

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-19