การประเมินผลระบบยา เวชภัณฑ์ และครุภัณฑ์ทางการแพทย์โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้รับการถ่ายโอนไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ปีงบประมาณ 2566

ผู้แต่ง

  • อุดม ทุมโฆสิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • วรพิทย์ มีมาก
  • สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว

คำสำคัญ:

การจัดการยาและเวชภัณฑ์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การถ่ายโอน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินระบบการจัดการยา เวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการถ่ายโอนไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเด่นและข้อด้อยในการจัดการยาหลังการถ่ายโอน และ 3) เสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบการจัดการยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลังการถ่ายโอน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยประเมินผลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาแบบกรณีศึกษาเชิงสำรวจและพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 32 แห่งใน 8 จังหวัดที่ได้รับการถ่ายโอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้โปรแกรม Atlas.ti

ผลการวิจัยพบว่า หลังการถ่ายโอน ระบบการจัดการยา เวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้านการพึ่งพาบุคลากรจากโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายที่ลดลง ส่งผลให้คุณภาพการจัดการยาในหลายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลดลงและขาดความต่อเนื่อง ปัญหาสำคัญที่พบคือการขาดแคลนบุคลากรทางเภสัชกรรมและงบประมาณในการจัดหายา อย่างไรก็ตาม ข้อเด่นคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะสำคัญได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร การพัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพยาและการจัดการคลังยา การส่งเสริมความสัมพันธ์กับโรงพยาบาลแม่ข่าย และการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัด อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการยาและเวชภัณฑ์ให้มีความชัดเจนและโปร่งใสมากขึ้น

References

คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. (2553). คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาระบบประสาทส่วนกลาง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. (2558). คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธมลวรรณ อยู่เจริญ และธนัญญา วสุศรี. (2561). การพัฒนาระบบเติมเต็มยาและเวชภัณฑ์คงคลัง กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน. ว. เภสัชศาสตร์อีสาน, 14(3), 92-106.

นันท์นภัส ฟุ้งสุข และอัษฎางค์ พลนอก. (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(41), 109-122.

นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ และสุปรียา ดวงจันทร์. (2555). ความสามารถในการบริหารเวชภัณฑ์ของศูนย์สุขภาพชุมชน. พุทธชินราชเวชสาร, 29(1), 27-35.

นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี. (2563). การใช้ยาสมเหตุผลในชุมชน. ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา, 11(45).

พิสนธิ์ จงตระกูล. (2558). ใช้ยาทุกครั้งต้องใช้อย่างสมเหตุผล. ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา, 7(28).

มัตติกา ประพฤติดี (2564). การพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Health Sciences and Pedagogy, 1(2), 16-29.

มัลลิกา สุพล, สมบัติ อาคม และอนุพันธุ์ ประจำ. (2557). การศึกษาความสามารถในการบริหารคลังเวชภัณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดศรีสะเกษ. Research and Development Health System Journal, 7(2), 207-17.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยาและเวชภัณฑ์กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานการบริหารเวชภัณฑ์รายไตรมาส. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565, จาก http://203.157.3.54/hssd1/???b3B0aW9uPXJlcG9ydCZtb2R1bGU9cmVwb3J0JnVtZD1hcHAxJm1vZD1yZXBvcnRfbWFpbiY=

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. (2566). คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

อุดม ทุมโฆสิต. (2567). การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศาสตร์: ศาสตร์แห่งองค์ความรู้และวิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

World Health Organization. (2010). Medicines: rational use of medicines. Fact sheet No.338.

World Health Organization. (2002). Promoting rational use of medicines: core components. Geneva: WHO.

World Health Organization. (2001). How to develop and implement a national drug policy. Geneva: WHO.

World Health Organization. (1985). The rational use of drugs. Report of the conference of experts, Nairobi, 25-29 November 1985. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30