การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะปอดรั่ว : กรณีศึกษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลระนอง

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ ธนิตสุขการ โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง

คำสำคัญ:

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ภาวะปอดรั่ว, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะปอดรั่วจำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลระนอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการแสดงและการรักษา มาวางแผนให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟูสภาพ และระยะก่อนจำหน่าย

ผลการศึกษา  เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะปอดรั่วจำนวน 2 ราย รายที่ 1 ผู้ป่วยป่วยชายไทย อายุ 65 ปี อาการสำคัญ หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น พ่นยาไม่ดีขึ้น เป็นมา 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัย COPD with Pneumothorax รายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 68 ปี อาการสำคัญ หายใจเหนื่อยหอบ บวมทั่วตัว ปวดแน่นท้องมากขึ้นเป็นมา 1 วัน ได้รับการวินิจฉัย COPD with Pneumothorax with Nephrotic Syndrome ในระยะวิกฤตให้การพยาบาลเพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างการ ดูแลให้ยาปฏิชีวนะและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการวางแผนจำหน่ายก่อนกลับบ้าน      ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้ ทักษะและความชำนาญพิเศษในการดูแลผู้ป่วยทั้งภาวะวิกฤตและภาวะปกติ  เพื่อนำไปวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานให้สอดคล้องกับแผนการรักษาตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและลดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2562). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD). Retrieved Sep 6,2024 from https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8- 10-61.pdf.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขาและลาลิน เจริญจิตต์.(2565). บทบาทพยาบาลในการจัดการอาการของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: กรณีศึกษา.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล,38(2),12-25.

คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.(2564). ภาวะปอดรั่วเป็นอย่างไร. Retrieved Aug10,2024 https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1463

บุญสว่าง พิลาโสภณ.(2566). การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 8(1),232-243.

ประทุม สร้อยวงศ์(2564).การพยาบาลอายุรศาสตร์: เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มูลนิธิโรคไตแห่งชาติ. (2567).การเชื่อมโยงระหว่างหัวใจและไต. Retrieved Oct 3,2024 https://www.kidney.org/kidney-topics/heart-and-kidney-connection.

รพีพร โรจน์แสงเรือง.(2557). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. Retrieved Sep 10,2024 https://www. wongkarnpat.com/upfilecme/CME%20423.pdf.

โรงพยาบาลระนอง.กลุ่มการพยาบาล. (2565). สถิติศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลระนอง.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย.(2565). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้น.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.

Orem, D. E. (2001). Nursing concepts of practice. (4th ed). St Louis : Mosby.

Simon ST, Altfelder N, Alt-Epping B, BauseweinC, Weingärtner V, Voltz R,et al.(2017). Characteristics of Patients with Breathlessness. Pneumologie,71(1),40-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31