การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกอุดม อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การเฝ้าระวังโรค, โมเดล 6Sบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค 2. พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค 3. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้นในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกอุดม อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนกันยายน 2567 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 100 คน ประกอบด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ร้อยละ 73) ผู้นำชุมชน (ร้อยละ 16) ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 5) และครูอนามัย (ร้อยละ 6) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 2.69, S.D. = 1.02) การพัฒนารูปแบบนำไปสู่การสร้าง "โมเดล 6S เพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมโรคแบบบูรณาการในชุมชน" ประกอบด้วย 1) ศูนย์บัญชาการสถานการณ์ 2) การคัดกรองและติดตาม 3) การวางแผนเชิงกลยุทธ์และบริหารทรัพยากร 4) การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ 5) การสุขาภิบาลและควบคุมการติดเชื้อ และ 6) การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและสนับสนุนสุขภาพจิต ผลการประเมินหลังการใช้รูปแบบพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เพิ่มขึ้นจาก 63.60 (S.D. = 17.00) เป็น 80.12 (S.D. = 12.66) คะแนน (p < 0.001) ด้านความคิดเห็นในการแจ้งข่าวเพิ่มขึ้นจาก 2.06 (S.D. = 0.57) เป็น 2.52 (S.D. = 0.66) คะแนน (p < 0.001) และด้านการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นจาก 2.69 (S.D. = 1.02) เป็น 3.46 (S.D. = 1.01) คะแนน (p < 0.001)
References
กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ. (2555). แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกัน และแก้ไขโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, และ ภาสินี โทอินทร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี - Udon Model COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(1), 49-62.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2565). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2566, จาก http://www.boe.moph.go.th/fact/Influenza.htm
อภิชาติ มีจันทร์ และพรพิมล มัชฌาสัย. (2564). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลสะแบง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารสุขภาพและการจัดการภาครัฐ, 42(2), 25-35.
Anderson, M., et al. (2023). Community Participation in Disease Surveillance Systems: A Case Study in Tanzania. Journal of Public Health in Africa, 14(2), 45-52.
Chen, X., et al. (2023). Long-term Evaluation Framework for Community Health Interventions. Global Health Action, 16(1), 2167234.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (2020). Participatory Approaches in Public Health: Theory and Practice. Health Promotion International, 35(6), 1443-1452.
Johnson, R., & Brown, K. (2023). Infection Control Challenges in Resource-Limited Settings. International Journal of Infectious Diseases, 45, 78-86.
Kumar, S., & Singh, R. (2022). Building Community Capacity for Disease Surveillance in Rural India. Global Health Action, 15(2), 2134567.
Martinez, L., et al. (2023). Community Acceptance of Disease Surveillance Systems in Mexico. American Journal of Tropical Medicine and Hygiene, 88(4), 234-241.
Revans, R. W. (2018). Action Learning: New Techniques for Management. New York: Routledge.
Thompson, M., & Lee, S. (2023). Tools for Measuring Community Participation in Health Programs. BMC Public Health, 23(1), 156.
Williams, J. R., et al. (2023). Capacity Building for Health Volunteers in the Philippines. Journal of Community Health, 48(2), 145-156.
World Health Organization. (2022). Public Health Emergency Management Framework. Geneva: WHO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.