ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สันติ แสงอุทัย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การใช้สารเสพติด, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น และ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น ในตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุ 18-25 ปี จำนวน 226 คน ได้จากการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ประยุกต์จากแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของ Sørensen et al. มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Chi-square และ Pearson correlation coefficient

               ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 50.4) อายุเฉลี่ย 21.64 ปี มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเสพติดโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 86.17, SD = 7.45) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ สถานภาพสมรส กิจกรรมยามว่างด้านการออกกำลังกายและเล่นดนตรี การรับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอายุและรายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ (r = 0.224 และ 0.152 ตามลำดับ) ดังนั้นวัยรุ่นส่วนใหญ่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุน้อย รายได้ต่ำ และขาดการเข้าถึงข้อมูลผ่านช่องทางที่เหมาะสม จึงควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย เน้นการส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ และพัฒนาช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

References

คณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดปทุมธานี. (2566). รายงานผู้เสพเข้ารับการ บำบัดรักษาแบบสมัครใจ ในช่วงระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 – 10 พฤษภาคม 2566 ในเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดปทุมธานี. การประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดปทุมธานี.

ช่อแก้ว ส่งแสงทอง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บพิธ สนั่นเอื้อ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสารเสพติดกับพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สารเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมตอนปลาย ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดบึงกาฬ. https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/post-doc/20240212131954.pdf

พิชเยศ ชูเมือง. (2563). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาเสพติดของผู้ต้องหาคดียาเสพติด: กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ระพีพรรณ บัวผัน. (2557). การตัดสินใจเสพยาเสพติดของเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษาศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 1 จังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). รายงานการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปีงบประมาณ 2562.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.) รายงานผลการดำเนินงานตามแบบบำบัดรักษาของกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2566. http://antidrugnew.moph.go.th/Runtime/Runtime/Form/FrmReports/

สุกฤตา สวนแก้ว และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2564). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของวัยรุ่น ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพยาบาล สภากาชาดไทย, 14(2), 93-106.

สุณีรัตน์ ยืนยั่ง และสวรรค์ ธิติสุทธิ. (2563). ความรู้เท่าทันสารเสพติดกับการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(2), 163-167.

สุวพันธ์ คะโยธา และวุธิพงศ์ ภักดีกุล. (2561). ปัจจัยเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตเทศบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(3), 84-95.

อรรจน์กร สมเกียรติกุล. (2566). การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการและวิจัยยาเสพติด, 1(1), 28-29.

Bloom, B. S. (1968). Learning for mastery. Evaluation Comment, 1(2), 1-12. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED053419.pdf

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). Wiley. Retrieved from https://www.wiley.com/en us/Sampling%2BTechniques%2C%2B3rd%2BEdition-p-9780471162407

Sørensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., & Brand, H. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12(1), Article 80. https://doi.org/10.1186/1471-2458-12-80

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05