การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงจากการใช้สารเสพติด: กรณีศึกษา 2 ราย โรงพยาบาลระนอง
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยเสพสารเสพติด, พฤติกรรมก้าวร้าว, รุนแรงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงจากการใช้สารเสพติด 2 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดในผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลระนอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินการคัดกรองรายโรคทางจิตเวช แบบบันทึกข้อมูลเยี่ยมบ้านตามแนวทาง IN HOME SSS รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบพยาธิสภาพ ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีผลต่อการเกิดโรค แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล กรณีปรึกษา : เปรียบเทียบผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติด 2 ราย รายที่ 1 เพศชาย อายุ 32 ปี อาการสำคัญ 3 ชั่วโมงก่อนมา มีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว ทำร้ายร่างกายภรรยา ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็น Multiple Substance Induced Psychosis Disorder รายที่ 2 เพศชาย อายุ 26 ปี อาการสำคัญ 1 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยเดินแก้ผ้าพูดคนเดียวทำร้ายตนเองโดยการตบหน้า ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็น Multiple Substance Induced Psychosis Disorder
การศึกษานี้พบว่า การดูแลผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงจากการใช้สารเสพติดระหว่างการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจะช่วยลดภาวะการก่อพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยครอบครัว และการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอในชุมชน เป็นหัวใจสำคัญของการให้พยาบาล ซึ่งจะช่วยลดการกลับซ้ำของผู้ป่วยได้
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2556). มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://mhso.dmh.go.th/fileupload/
นิตยา ตากวริยะนันท์. (2558). การพยาบาลผู้ใช้ยาทางจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มาโนช หล่อตระกูล. (2559). การตรวจสัมภาษณ์ทางจิตเวช (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
วิมล ลักขณาภิชนชัช. (2563). คู่มือบันทึกการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด. ปทุมธานี: สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต (2561). แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสุรา/ยา/สารเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง.พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์บริษัทบียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด
อรนันท์ หาญยุทธ. (2565). กระบวนการพยาบาล : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนอรุณการพิมพ์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.