ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional research) ครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดำเนินงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ สาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานเกิน 6 เดือน ในเขตรับผิดชอบของหน่วยบริการสาธารณสุข ตำบลเขาพระทอง จำนวน 116คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสมการถดถอยเชิงเส้น (Simple linear regression)
ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อยู่ในระดับมีปัญหา (ร้อยละ 31.03) ในส่วนของปัจจัยของความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 2 ทักษะ ที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ ทักษะการเข้าถึง และทักษะการตัดสินใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.752 และสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานในบทบาทในทีมหมอครอบครัว ได้ร้อยละ 74.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ เท่ากับ ± 0.486 และ พบว่า ทักษะการตัดสินใจ สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้มากที่สุด และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.004 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนดิบ และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (b, Beta) เป็น 0.365 กับ 0.574 สำหรับทักษะการเข้าถึง มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนดิบ และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (b, Beta) เป็น 0.188 กับ 0.243
References
กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกี ด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558:1-17.
กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. งานระบาดวิทยา. รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก; 2559:1-5.
จุฑามาส มีศิลป์. ความรู้ความเข้าใจและบทบาทในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี.การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
จำลอง แววกระโทก, สำเริง แหยงกระโทก, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของผู้นำในชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโป่งแดง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน; 2559: 426–34.
ชนิดา มัททวางกูร ,ปรียานุช พลอยแก้ว ,อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา ,อัมพร สิทธิจาด , ธำรงเดช น้อยสิริวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร .วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม หน้า 34 -48 https://he01.tci-thaijo.org/
ธเนศ ต่วนชะเอม (2552).ตัวแปรในการวิจัยและคู่มือการสร้างแบบสอบถาม เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม (ใช้ใน โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร.“ตัวแปรในการวิจัยและการสร้างแบบสอบถามของสถาบันพัฒนานักวิจัยแห่งประเทศไทย”).
นิคม แก้ววันดี, วราภรณ์ ศิริสว่าง, ศิริขวัญ บริหาร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่: รายงานสืบเนื่องจาการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15; 2557.
บุปผาชาติ ศรีพิบูลย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดาเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.
ผ่องศรี พูลทรัพย์ และคณะ. การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยการส่งเสริมการทำงานแบบมี ส่วนร่วมตามสภาพจริง รพ.สต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557;25:206-16.
พนม นพพันธ์, ธรรมศักดิ์ สายแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลบางปรอกอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหเวชศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันฑา 2559;1:39-62.
พัชรนันท์ วงษ์ประเสริฐ และคณะ. (2559). ผลการปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี.วารสารวิทยาลัย พยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 27(1): 56-65.
ภคอร โจทย์กิ่ง และประจักร บัวผัน. (2560). การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนสามเหลี่ยม เทศบาลนครขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 24(2): 29-35.
วินัย พันอ้วน. ความรู้และทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน; 2560: 49-66.
วิมลรัตน์ ถนอมศรีเดชชัย, ทัศวรรณ วัชระ, เปรมิกา เนียมเกตุ, มณีรัตน์ สวนดอกไม้. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.[อินเตอร์เน็ต]. 2560: [หน้า1,730-33]. เข้าถึงได้จาก: http://gs.rmu.ac.th/grc2017/fullpaper/file/SC-P-02.pdf
สิวลี รัตนปัญญา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชพฤกษ์ 2561;16: 87-94
.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกี ด้านการแพทย์และสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. หน้า 1-17.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2558). แนวทางการปฏิบัติงานเฝ้า ระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558
อติเทพ จินดา. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต11. [อินเตอร์เน็ต].2560; 31: [หน้า555-67]. เข้าถึงได้จาก : https://he02.tci thaijo.org/index.php/Reg11MedJ
Banik, R., Islam, S., Mubarak, M., Rahman, M., Gesesew, H., Ward, P. R., & Sikder, T. (2023). Public knowledge, belief, and preventive practices regarding dengue: Findings from a community-based survey in rural Bangladesh. PLOS Neglected Tropical Diseases, 17. https://doi.org/10.1371/journal.pntd.0011778
Krishnappa, L., Gadicherla, S., Chalageri, V., & Jacob, A. (2023). Impact of School-Based Health Education on Dengue Prevention and Control in an Urban Area during an Epidemic. Medical Journal of Dr. D.Y. Patil Vidyapeeth, 16, 10–14. https://doi.org/10.4103/mjdrdypu.mjdrdypu_875_21
Mathur, D., Patel, M., Vyas, P., Kaushal, R., Dash, G. C., Goel, A., Bhardwaj, P., Gupta, M., & Joshi, N. (2020). Revitalising community engagement and surveillance challenges for strengthening dengue control in Jodhpur, Western Rajasthan, India - A mixed method study. Journal of Infection and Public Health. https://doi.org/10.1016/j.jiph.2020.08.005
Padchasuwan, N., Junggoth, R., Maneenin, N., Phimha, S., Benchamas, J., & Thammasarn, K. (2024). Health literacy development using a short drama programme for dengue fever control in Thailand. Health Education Journal. https://doi.org/10.1177/00178969241274198
Poum, A. (2024). Health Literacy in Preventing and Controlling Dengue Hemorrhagic Fever Among Village Health Volunteer, Pattani Province, Thailand. International Journal of Public Health Asia Pacific. https://doi.org/10.62992/j0j4xt93
Soo, W. F., Gunasekaran, K., Ng, D. X., Kwek, K., & Tan, N. (2024). Literacy and attitude of Asian youths on dengue and its prevention in an endemic developed community. Frontiers in Public Health, 12. https://doi.org/10.3389/fpubh.2024.1361717
World Health Organization. ComprehensiveGuidelines for Prevention and Control of Dengueand Dengue Hemorrhagic Fever. 2011:1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.