ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวผู้ป่วยต่อระดับความสะอาดของลำไส้ ความวิตกกังวล และภาวะแทรกซ้อนในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • เสาวณีย์ กรุณา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเตรียมตัวผู้ป่วย, การส่องกล้องลำไส้ใหญ่, ความสะอาดของลำไส้

บทคัดย่อ

           การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมตัวผู้ป่วยต่อระดับความสะอาดของลำไส้ ความวิตกกังวล และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับ ณ โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีกำหนดการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ จำนวน 84 คน แบ่งด้วยวิธีการสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 42 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตรียมตัวเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความสะอาดของลำไส้ (BBPS) แบบประเมินความวิตกกังวล (STAI) และแบบบันทึกภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที

            ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความสะอาดของลำไส้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (11.70 ± 0.56 เทียบกับ 8.05 ± 0.80, p<0.001) และมีระดับความวิตกกังวลต่ำกว่าทั้งในด้านความวิตกกังวลโดยทั่วไป (10.10 ± 1.15 เทียบกับ 15.23 ± 0.85, p<0.001) และความวิตกกังวลขณะเผชิญ (8.35 ± 0.95 เทียบกับ 12.52 ± 1.15, p<0.001) นอกจากนี้ กลุ่มทดลองไม่พบภาวะแทรกซ้อนใด ในขณะที่กลุ่มควบคุมพบผู้ป่วยมีอาการอืดแน่นท้องร้อยละ 7.1 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า โปรแกรมการเตรียมตัวผู้ป่วยมีประสิทธิผลในการเพิ่มระดับความสะอาดของลำไส้ ลดความวิตกกังวล และป้องกันภาวะแทรกซ้อน จึงควรนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติมาตรฐานในการเตรียมผู้ป่วยก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป

References

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Prentice Hall.

Best, J. B. (1970). Cognitive psychology. Holt, Rinehart and Winston.

Lai, E. J., Calderwood, A. H., Doros, G., Fix, O. K., & Jacobson, B. C. (2009). The Boston Bowel

Preparation Scale: A valid and reliable instrument for colonoscopy-oriented research. Gastrointestinal Endoscopy, 69(3), 620-625.https://doi.org/10.1016/j.gie.2008.05.057

Lohsiriwat, V., Chaisomboon, N., & Pattana-Arun, J. (2020). Current colorectal cancer in Thailand. Annals of Coloproctology, 36(2), 78-82. https://doi.org/10.3393/ac.2020.01.07

Orem, D. E. (1995). Nursing: Concepts of practice. Mosby-Year Book.

Phisalprapa, P., Ngorsuraches, S., Wanishayakorn, T., Kositamongkol, C., Supakankunti, S., & Chaiyakunapruk, N. (2021). Estimating the preferences and willingness-to-pay for colorectal cancer screening: An opportunity to incorporate the perspective of population at risk into policy development in Thailand. Journal of Medical Economics, 24(1), 226-233. https://doi.org/10.1080/13696998.2021.1877145

Roy, C. (2009). The Roy adaptation model (3rd ed.). Prentice Hall. Spielberger, C. D., Gorsuch, R. L., & Lushene, R. E. (1970). Manual for the State-Trait Anxiety Inventory. Consulting Psychologists Press.

Tiankanon, K., Aniwan, S., & Rerknimitr, R. (2021). Current status of colorectal cancer and its public health burden in Thailand. Clinical Endoscopy, 54(4), 499-504. https://doi.org/10.5946/ce.2020.245-IDEN

Waldmann, E., Kammerlander, A., Gessl, I., Penz, D., Majcher, B., Hinterberger, A., Trauner, M., & Ferlitsch, M. (2021). New risk stratification after colorectal polypectomy reduces burden of surveillance without increasing mortality. United European Gastroenterology Journal, 9(8), 947-954. https

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

กรุณา เ. . (2024). ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวผู้ป่วยต่อระดับความสะอาดของลำไส้ ความวิตกกังวล และภาวะแทรกซ้อนในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลลำพูน. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข, 2(3), 154–169. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3764