ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลและ การควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ในโรงพยาบาลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก แสงแก้ว นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • สาวิตรี ศรีโฉม นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • วิลาสินีพร โคตวัตร์ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • อุทิศ นันทะมาตย์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงกาจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

บทคัดย่อ

การการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 40 คน ที่มารับบริการ ณ คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลชานุมาน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample  t-test

  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี ภายหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเท่ากับ 3.9 (S.D. = 0.13) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.7 (S.D. = 0.43) โดยสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <.001 ค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ มีค่าลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <.001  ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการจัดการตนเองไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังหรือที่มีลักษณะคล้ายกัน

References

กชกร ธรรมนาศีล. (2558). โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Public Health Nursing, 2, 52.

กัลปนา เพชรอินทร์ และ นันทยา เสนีย์. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 3, 8.

นพาภรณ์ จันทร์ศรี. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2, 9.

มาสริน ศุกลปักษ์. (2561). กลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูง [Health Promotion Strategies to Prevent and Control High Blood Pressure]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี.

ศิริลักษณ์ ช่วงมี. (2567). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ เขตพื้นที่โรงพยาบาลสทิงพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารสุขภาพและการพัฒนา, 3, 9.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2566a). รายงานประจำปี 2566. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/4155620240314033823.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2566b). รายงานสถานการณ์สุขภาพประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/78a5b91d92a079c1a35867c6347a9299.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). คู่มือการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ. เข้าถึงจาก https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/fund_man01.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. เข้าถึงจาก https://thaihypertension.org/files/HT%20guideline%202019.with%20watermark.pdf

อภิญญา อุบลสะอาด. (2567). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 1, 7–9.

อรทัย หงษ์ศิลา. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความดันโลหิตในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารสภาการพยาบาล, 2, 15.

Alfrina Hany, & Kuswantoro Rusca Putra. (2567). Importance of self-management interventions in hypertension patients: A scoping review. Health and Lifestyle Science, 1, 2.

Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). Self-management methods. In F. Kanfer & A. Goldstein (Eds.), Helping people change: A textbook of methods (4th ed.). New York, NY: Pergamon Press.

ThaiHypertension Society. (2562). Information on hypertension. เข้าถึงจาก https://www.thaihypertension.org/information.html

World Health Organization. (2566). First WHO report details devastating impact of hypertension and ways to stop it. เข้าถึงจาก https://www.who.int/thailand/th/news/detail/19-09-2566-first-who-report-details

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-20

How to Cite

แสงแก้ว ข. ., ศรีโฉม ส. ., โคตวัตร์ ว., นันทะมาตย์ อ. . ., & ประสมรักษ์ ป. . (2025). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลและ การควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ในโรงพยาบาลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข, 3(1), 1–13. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4039