ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุอายุ 60-85 ปี ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 112 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และ 2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูง (ร้อยละ 74.11) เมื่อจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่าทักษะการเข้าถึงข้อมูลบริการสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 50.89) และความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีความสัมพันธ์กับทักษะการสื่อสารสุขภาพและทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.042 และ 0.014 ตามลำดับ) นอกจากนี้ การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะทักษะการสื่อสารและการประเมินข้อมูลสุขภาพ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
References
กมลพรรณ จักรแก้ว. (2561). การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2567 จาก http://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/diabetes/research/d%202-3-24.pdf
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
กาญจนา เฟื่องฟู. (2564). ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2567 จาก https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5204
ชลิดา เกษธำรง. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในเขตศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองตลาดดอนนก.
พิทยาธร เวียงทอง & อาคม บุญเลิศ. (2561). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น.
จริยา นพเคราะห์, โรจนี จินตนาวัฒน์, & ทศพร คำผลศิริ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2567 จาก https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:93946
จิราภรณ์ อริยสิทธิ์. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 18(2), 142-155.
วรรณี จิวสืบพงษ์, กฤษฎา เหล็กเพชร, จันทิมา นวะมะวัฒน์, & ปริทรรศน์ วันจันทร์. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 30-43.
วิชัย เอกพลากร. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์.
อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 4(1), 35-47.
World Health Organization. (2018). Ageing and life course. Retrieved from http://www.who.int/ageing/en

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.