การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของกลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ โรงพยาบาลศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย, โรคความดันโลหิตสูง, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบดังกล่าว ดำเนินการระหว่างธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การประเมินสถานการณ์ 2) การพัฒนารูปแบบจำนวน 3 รอบ และ 3) การประเมินผล ผู้ร่วมศึกษาประกอบด้วยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พยาบาลวิชาชีพ และทีมสหวิชาชีพ รวม 25 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอีก 163 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินเบื้องต้น 2) การรักษาด้วยยา 3) การให้ความรู้และการสนับสนุน 4) การป้องกันภาวะแทรกซ้อน 5) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต และ 6) การติดตามผล ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.547, p=0.003) มีทัศนคติดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.124, p=0.004) และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-5.128, p=0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=7.36, p=0.002 และ t=9.23, p=0.001 ตามลำดับ) โดยผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลในระดับสูง (ร้อยละ 90.80) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในบริบทอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้

References

จารุณี นุ่มพูล. (2563). การประยุกต์ทฤษฎีขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิกวัยผู้ใหญ่. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(2), 15-28.

วนิดา สาดตระกูลวัฒนา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการคลินิกโรคเรื้อรัง (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1), 24-36.

วีรยุทธ ศรีทุมสุข และคณะ. (2563). ปัจจัยทำนายความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลันรายใหม่. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(2), 144-158.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. (2566). ฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566 จาก https://plg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทอิโมชั่น อาร์ต จำกัด.

Bearman, K. J., & La Greca, A. M. (2002). Assessing friend support of adolescents' diabetes care: The Diabetes Social Support questionnaire-Friends version. Journal of Pediatric Psychology, 27(5), 417-428. https://doi.org/10.1093/jpepsy/27.5.417

Freire, P. (1996). Pedagogy of the oppressed (Revised ed.). New York: Continuum.

Gibson, C. H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16(3), 354-361. https://doi.org/10.1111/j.1365-2648.1991.tb01660.x

Kolb, D. A., Osland, J., & Rubin, I. M. (1991). Organizational behavior: An experiential approach. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

World Health Organization. (2023). Global status report on non-communicable diseases. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-14

How to Cite

พงศ์ไตรภูมิ ช. . (2025). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของกลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข, 3(1), 51–65. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4078