ผลของการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง และ 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทั้งก่อนและหลังการทดลอง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดผล 2 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุอายุ 60-70 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมที่ประยุกต์จากแนวคิดของ Hudson และคณะ จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที รวม 4 สัปดาห์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินความวิตกกังวล STAI Form Y-1 และแบบสอบถามปัญหาสุขภาพเพื่อตรวจวัดโรคซึมเศร้า (HRSR Scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา, independent t-test, dependent t-test และ MANOV
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลลดลงจาก 46.73 เป็น 37.26 คะแนน (ลดลงร้อยละ 20.3)และคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าลดลงจาก 27.46 เป็น 23.80 คะแนน (ลดลงร้อยละ 13.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าหลังการทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) โดยมีขนาดอิทธิพล (Effect Size) ในระดับสูง (Partial η² > .14) 3) กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กรมสุขภาพจิต. (2562). แนวทางการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุในระบบบริการปฐมภูมิ. กระทรวงสาธารณสุข.
ดวงใจ กสานติกุล, และคณะ. (2540). แบบสอบถามปัญหาสุขภาพเพื่อตรวจวัดหาโรคซึมเศร้าในประชากรไทย. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.
Beck, J. S. (2011). Cognitive behavior therapy: Basics and beyond (2nd ed.). Guilford Press.
Hudson, J. L., Newall, C., Rapee, R. M., Lyneham, H. J., Schniering, C. A., Wuthrich, V. M., ... & Gar, N. S. (2016). Clinical Child and Family Psychology Review, 19(3), 227–237. https://doi.org/10.1007/s10567-016-0210-5
Sangiumnaimuang, P., Aemraj, R., & Selakat, S. (2010). Prevalence of depression in Thai elderly with chronic diseases. Journal of the Medical Association of Thailand, 93(Suppl 7), S152-S158.
Spielberger, C. D. (1983). Manual for the State-Trait Anxiety Inventory (STAI). Consulting Psychologists Press.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.