ผลของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผักขวง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • จีรนุช โสทัน โรงพยาบาลพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผักขวง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางกาย, การรับรู้ความสามารถตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้สูงอายุในด้านความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังผลลัพธ์ กิจกรรมทางกาย และสมรรถภาพทางกาย การวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ 60-69 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผักขวง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 25 คน เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) แผนกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถตนเองของ Bandura ดำเนินการ 8 สัปดาห์ (2) แบบสอบถามความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังผลลัพธ์ กิจกรรมทางกาย และ (3) แบบประเมินสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Dependent t-test

           ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย (p=0.003) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (p=0.006) และความคาดหวังต่อผลลัพธ์ (p=0.002) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านกิจกรรมทางกายพบการเพิ่มขึ้นของการเดินหรือขี่จักรยาน (p=0.004) กิจกรรมนันทนาการทั้งความหนักค่อนข้างมาก (p=0.001) และความหนักปานกลาง (p=0.002) ขณะที่พฤติกรรมการนั่งลดลง (p=0.022) ด้านสมรรถภาพทางกายพบการพัฒนาสมรรถนะระบบหายใจและหลอดเลือด (p=0.002) ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ (p<0.001) และการทรงตัวและความว่องไว (p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะเห็นได้ว่า การส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองมีประสิทธิผลในการพัฒนาความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง กิจกรรมทางกาย และสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม โดยการบูรณาการทั้งการให้ความรู้ การสร้างประสบการณ์ความสำเร็จ การใช้ตัวแบบ และการชักจูงทางวาจา ร่วมกับการฝึกปฏิบัติตามหลักการ FITT และการฝึกประสาทสัมผัส

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). คู่มือระบบดูแลและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในระดับพื้นที่. https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1561080125-196_0.pdf

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับสำหรับผู้สูงวัย (ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป). บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จํากัด.

โครงการสุขภาพคนไทย. (2562). สุขภาพคนไทย 2562 (หน้า 32-34). สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

นพนัฐ จำปาเทศ และคณะ. (2561). บทบาทพยาบาลในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 60-72.

วิมล ปักกุนัน และรุจิรา ดวงสงค์. (2563). ผลของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุโดยประยุกต์แนวคิด ความรอบรู้กิจกรรมทางกาย คลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). โครงการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.

American College of Sports Medicine. (2020). ACSM's guidelines for exercise testing and prescription (11th ed.). Wolters Kluwer.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman.

Erickson, K. I., Hillman, C., Stillman, C. M., Ballard, R. M., Bloodgood, B., Conroy, D. E., Macko, R., Marquez, D. X., Petruzzello, S. J., & Powell, K. E. (2020). Physical exercise increases brain plasticity in late adulthood. Frontiers in Aging Neuroscience, 12, 318. https://doi.org/10.3389/fnagi.2020.00318

Lo, S. W. S., Chair, S. Y., & Lee, F. K. (2015). Factors associated with health-promoting behavior of people with or at high risk of metabolic syndrome: Based on the health belief model. Applied Nursing Research, 28(2), 197-201.

McAuley, E., Blissmer, B., Marquez, D. X., Jerome, G. J., Kramer, A. F., & Katula, J. (2003). Physical activity, self-efficacy, and quality of life in older adults. Journals of Gerontology, 58B(4), P268-P275. https://doi.org/10.1093/geronb/58.4.P268

Perkins, J. M., Multhaup, K. S., Perkins, H. W., & Barton, C. (2008). Self-Efficacy and Participation in Physical and Social Activity Among Older Adults. The Gerontologist, 48(1), 51–58. https://doi.org/10.1093/geront/48.1.51

World Health Organization. (2010). Global recommendations on physical activity for health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-30

How to Cite

โสทัน จ. . (2025). ผลของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผักขวง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข, 3(1), 64–78. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4148