ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. หมอประจำครอบครัว อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), หมอประจำครอบครัวบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. หมอประจำบ้าน ในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. หมอประจำบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 124 คน ซึ่งเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ปฏิบัติงานในตำบลฉลอง อำเภอสิชล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และใช้สถิติ Chi-Square ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล
ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมของ อสม. อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 66.90) โดยแยกเป็นทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (ร้อยละ 69.40) ทักษะการเข้าใจข้อมูลสุขภาพ (ร้อยละ 70.20) ทักษะการประเมินข้อมูลสุขภาพ (ร้อยละ 69.40) และทักษะการประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพ (ร้อยละ 72.60) ส่วนความรู้ด้านสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 87.10) รองลงมาคือระดับปานกลาง (ร้อยละ 12.90) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ระยะเวลาการเป็น อสม. มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.042) และความรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ขณะที่เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ และจำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน ฉบับปรับปรุง ปี 2561. กรุงเทพฯ: บริษัท นิวธรรมดา การพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2557). ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554 พร้อมด้วยกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึก.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พรินติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กัลยาณี ตันตรานนท์, อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์, วีระพร ศุทธากรณ์, และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรวัยทำงาน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 16(2), 1–13.
ทรรศนีย์ บุญมั่น. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2567 จาก https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3876/3/62060699.pdf
นพมาศ โกศล, และคณะ. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของกลุ่มวัยทำงานสำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังหิน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 (น. 1–12).
เบญจวรรณ บัวชุ่ม. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 16(3), 49–58.
วีระ กองสนั่น, และอมรศักดิ์ โพธิ์อำ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 3(1), 1–11.
วิมล โรมา, มุกดา สำนวนกลาง, และสายชล คล้อยเอี่ยม. (2561). โครงการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
อรชร จันต๊ะคะรักษ์. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2567 จาก https://www.chiangmaihealth.go.th/document/240620171888172527.pdf

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.