ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • สำรวย ว่องไวยุทธ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

เบาหวาน, ปัจจัยที่สัมพันธ์, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด พฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ในผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 199 ราย ที่รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ จังหวัดตรัง ใช้การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และมีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Chi-square test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 64 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา รายได้เฉลี่ย 5,000 บาทต่อเดือน และส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกินถึงอ้วน ร้อยละ 66.3 ไม่สามารถควบคุมระดับ HbA1c ได้ (มากกว่า 7%) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 77.9) ส่วนการรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 62.3 และ 67.8 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ อาชีพ การมีโรคประจำตัว และการมีโรคความดันโลหิตสูง ส่วนปัจจัยอื่น ๆ เช่น เพศ อายุ รายได้ ดัชนีมวลกาย ระยะเวลาการป่วย ความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ข้อค้นพบสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เน้นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะการดูแลตนเอง และการจัดการกับปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีโรคร่วมและข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจหรืออาชีพ เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). ศรีเมืองการพิมพ์.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถิติสาธารณสุข 2565 (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล, ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, & นิพา ศรีช้าง. (2561). การเฝ้าระวังโรคเบาหวาน: ผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ. 2561 (กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, บ.ก.).

คนึงนุช แจ้งพรมมา และพัทธนันท์ คงทอง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 10(19), 1–13.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2567.). รายงานตัวชี้วัดในระดับ NCD ClinicPlus จังหวัดตรัง. สืบค้นจาก http://trg.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 515–522.

วรรณิกา ฟูเฟื่อง. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย. เชียงรายเวชสาร, 11(2), 42–51.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, & วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562–2563 (พิมพ์ครั้งที่ 1, วิชัย เอกพลากร, บ.ก.). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Allen, A., Welch, L., Kirkland, K., Trout, D., & Baron, S. (2017). Development of a diabetes mellitus knowledge resource for clinical decision support assisting primary care physicians with work-related issues. Journal of Occupational and Environmental Medicine, 59(11), e236–e239. https://doi.org/10.1097/JOM.0000000000001181

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw-Hill.

Daniel, W. W., & Cross, C. L. (2013). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (10th ed., E. Keohane, Ed.). John Wiley & Sons, Inc.

De Boer, I. H., Bangalore, S., Benetos, A., et al. (2017). Diabetes and hypertension: A position statement by the American Diabetes Association. Diabetes Care, 40(9), 1273–1284. https://doi.org/10.2337/dci17-0026

National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. (2022). What is diabetes? https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/what-is-diabetes

Ong, K. L., Stafford, L. K., McLaughlin, S. A., et al. (2023). Global, regional, and national burden of diabetes from 1990 to 2021, with projections of prevalence to 2050: A systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2021. The Lancet, 402(10397), 203–234. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(23)01301-6

Sun, J., Hu, W., Ye, S., Deng, D., & Chen, M. (2023). The description and prediction of incidence, prevalence, mortality, disability-adjusted life years cases, and corresponding age-standardized rates for global diabetes. Journal of Epidemiology and Global Health, 13(3), 566–576. https://doi.org/10.1007/s44197-023-00138-9

Tanujaya, B., Prahmana, R. C. I., & Mumu, J. (2022). Likert scale in social sciences research: Problems and difficulties. FWU Journal of Social Sciences, 16(4), 89–101. https://www.researchgate.net/publication/366425620_Likert_Scale_in_Social_Sciences_Research_Problems_and_Difficulties

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley & Sons.

World Health Organization. (2011). Use of glycated haemoglobin (HbA1c) in the diagnosis of diabetes mellitus. https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/70523/WHO_NMH_CHP_CPM_11.1_eng.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-26

How to Cite

ว่องไวยุทธ์ ส. . (2025). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง . วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข, 3(1), 141–156. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4275