การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ หน่วยบริการปฐมภูมิ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ปีงบประมาณ 2561-2563

ผู้แต่ง

  • ขวัญใจ วังคะฮาต ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ, หน่วยบริการปฐมภูมิ, การประเมินคุณภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการเพื่อสร้างความเท่าเทียมและการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานีได้ดำเนินการพัฒนาระบบคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 922 แห่ง โดยการทดสอบความชำนาญ จำนวน 5 รายการ คือ การตรวจภาวะตั้งครรภ์ โปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ ตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องตรวจวัดแบบพกพา ตรวจปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น  ได้พัฒนาวัตถุทดสอบปัสสาวะและเลือดรวม ส่งให้สมาชิกในปี 2561-2563 ปีละ 2 ครั้ง รวม 6 ครั้ง มีเกณฑ์คาดหวังคือจำนวนสมาชิกมีผลการประเมินถูกต้องผ่านทุกตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 80  ผลการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบตัวอย่างปัสสาวะ การตรวจโปรตีน น้ำตาล ภาวะตั้งครรภ์ ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 85, 91 และ 84 ตามลำดับ ตัวอย่างเลือด การตรวจน้ำตาลถูกต้องมากกว่าร้อยละ 76 โดยมีผลการประเมิน 4 รอบในปี 2562-2563 มากกว่าร้อยละ 85 การทดสอบเม็ดเลือดแดงอัดแน่นถูกต้องมากกว่าร้อยละ 73 โดยมีผลประเมินครั้งที่ 2/2562 และ1/2563 ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 วัตถุทดสอบปัสสาวะและเลือดรวมที่พัฒนามีความเป็นเนื้อเดียวกันและความคงตัวเป็นไปตามมาตรฐาน ISO17043, ISO 13528 จากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า ห้องปฏิบัติการของหน่วยบริการปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 10 มีผลการตรวจวิเคราะห์ในปัสสาวะทั้ง 3 รายการน่าเชื่อถือ การทดสอบตัวอย่างเลือด ในรายการตรวจน้ำตาลมีแนวโน้มเป็นตามเกณฑ์ การตรวจเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ไม่เป็นตามเกณฑ์ที่คาดหวังซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปชี้บ่งและแก้ปัญหาของกระบวนการวิเคราะห์ต่อไป

 

References

เอกสารอ้างอิง

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2557) ระบบคุณภาพและมาตรฐานห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข สำหนับหน่วยบริการส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.) (พิมพ์ครั้งที่ 2).สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2559). คู่มือการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). บริษัท บียอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

เรวดี สิริธัญญานนท์, วาสิฏฐี แก้วกระจ่าง, และปวีณา กมลรักษ์. (2561). การประเมินผลคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการทางห้องปฏิบัติการของหน่วยบริการปฐมภูมิตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2557-2559. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(1), 113-123.

สมคิด ธิจักร, ยุทธการ ยะนันโต, จารุริน วณีสอน, ก้องภพ ธิเลางาม, และพรรณราย วีระเศรษฐกุล. (2564). การทดสอบความชำนาญสำหรับการตรวจภาวะตั้งครรภ์ โปรตีนและกลูโคสในปัสสาวะของหน่วยบริการปฐมภูมิในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารเทคนิคการแพทย์, 49(1), 7795-7809.

สลักจิตร ชุติพงษ์วิเวท, ยงยุทธ พรหมพันธ์ใจ, สุภาพร หวังศิริเจริญ, และวันวิสาร์ เนตรเรืองแสง .(2557). การประเมินคุณภาพภายนอกทางห้องปฏิบัติการของหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารเทคนิคการแพทย์, 42(1), 4844-4851.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว(รพ.สต.ติดดาว)ปี 2564.(2564). https://ops.moph.go.th/public/

วิภาภรณ์ วิชน, บุญนิภา สงคราม ภัทรพร เชยประชุม, ชไมพร ใสสอน, และเกสร บุญยรักษ์โยธิน. (2564, 25-27 สิงหาคม). การประเมินคุณภาพภายนอกทางห้องปฏิบัติการของหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่. [การนำเสนอภาคโปสเตอร์]. การประชุมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 29. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กรุงเทพมหานคร.

International Organization for Standardization. (2010). ISO/IEC 17043 Conformity assessment-general requirements for proficiency testing.

International Organization for Standardization. (2015). ISO 13528 Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparison (2nded)

Mukherjee, S., Marwaha, N., Prasad, R., Sharma R. R. & Thakral, B. (2010). Serial assessment of biochemical parameters of red cell preparation to evaluate safety for neonatal transfusions. Indian J Med Res, 132(6), 715-720.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-08