บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินกับภาวะช็อกจากการเสียเลือดจากการบาดเจ็บ: ความท้าทายในการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
พยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน, ผู้ป่วยบาดเจ็บ, ภาวะช็อกจากการเสียเลือด, การดูแลก่อนถึงโรงพยาบาลบทคัดย่อ
การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุจราจรเป็นการบาดเจ็บที่พบมากที่สุด หากการบาดเจ็บนั้นเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรงและส่งผลต่ออวัยวะที่สำคัญ และผู้ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องในระยะก่อนส่งโรงพยาบาล อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในช่วงระหว่างนำส่งโรงพยาบาลได้
การดูแลผู้บาดเจ็บในระยะก่อนถึงโรงพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่ง การบริหารจัดการโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินมีเป้าหมายหลักคือ ลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการที่ป้องกันได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาล ลดการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่ไม่ถูกต้อง และลดการนำส่งสถานพยาบาลที่ไม่เหมาะสม โดยพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินที่ออกปฏิบัติการในระดับการช่วยชีวิตขั้นสูง จะมีความสามารถในการดูแลผู้บาดเจ็บขั้นสูงได้ การมีสมรรถนะและทักษะสูงทางคลินิก ตั้งแต่การประเมินความรุนแรงของภาวะช็อกจากการเสียเลือดเบื้องต้น การค้นหาภาวะคุกคามชีวิต การระบุการบาดเจ็บ การรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วน ครอบคลุม นำไปสู่การจัดการในการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บถูกต้อง เหมาะสม ทันเวลาและรวดเร็ว ทั้งในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล และระหว่างส่งผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาล รวมทั้งสามารถประสานงานกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน ช่วยให้ผู้บาดเจ็บได้รับความช่วยเหลือและดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อไปถึงโรงพยาบาล จะทำให้ผู้บาดเจ็บปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการแก่ผู้บาดเจ็บ ลดการสูญเสียบุคคลในครอบครัว เป็นการลดการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย
References
Caldwell, N. W., Suresh, M., Garcia-Choudary, T., & VanFosson, C. A. (2020). Trauma-related hemorrhagic shock: A clinical review. American Journal of Nursing, 120(9), 36-43. https://doi.org/10.1097/01.NAJ.0000697640.04470.21
Ellis, R., & Wick, P. (2020). PHTLS: Past, present, and future. In National Association of Emergency Medical Technicians (NAEMT), PHTLS: Prehospital trauma life support (9th ed.). (pp. 3-19). Jones & Bartlett Learning.
Enderson, B., & McKnight, C. L. (2020). Scene management. In National Association of Emergency Medical Technicians (NAEMT), PHTLS: Prehospital trauma life support (9th ed.). (pp. 145-166). Jones & Bartlett Learning.
Kaewroj, K. (2017). Trauma center: What we can offer? Current concepts of prehospital care for trauma patients. In Chakorn, T., Praphruetkit, N., Monsomboon, A., Surabenjawong, U., Riyapan, S., Limsuwat, C., Chaisirin, W., &. Reungsomboon, O. (Eds.), First hour in emergency medicine 2017: From prehospital to definitive care (pp. 32-36). P.A. Living. [in Thai]
Manifold, C., & Abraham, H. (2020). Shock: Pathophysiology of life and death. In National Association of Emergency Medical Technicians (NAEMT), PHTLS: Prehospital trauma life support (9th ed.). (pp. 47-88). Jones & Bartlett Learning.
McSwain, N., Pons, P. T., & Chapleau, W. (2016). Shock. In National Association of Emergency Medical Technicians (NAEMT), PHTLS: Prehospital trauma life support (8th ed.). (pp. 217-257). Jones & Bartlett Learning.
Mosesso, V., & Holtz, M. (2020). Patient assessment and management. In National Association of Emergency Medical Technicians (NAEMT), PHTLS: Prehospital trauma life support (9th ed.). (pp. 167-198). Jones & Bartlett Learning.
National Association of Emergency Medical Technicians (NAEMT). (2020). PHTLS: Prehospital trauma life support (9th ed.). Jones & Bartlett Learning.
Norasan, S., & Saimai, P. (2020). Concept and principle of trauma managements for nurse. In
Norasan S. (Ed.), Trauma Nursing 1st revision vol.1 (pp. 27-56). Idea Instant Printing. [in Thai]
Norasan, S., & Thongpo, P. (2020). Prehospital trauma life support. In Norasan S. (Ed.), Trauma Nursing 1st revision vol.1 (pp. 4-25). Idea Instant Printing. [in Thai]
Pattanarattanamolee, R., & Buranasakda, M. (2017). Current concepts of prehospital care for
trauma patients. In Chakorn, T., Praphruetkit, N., Monsomboon, A., Surabenjawong, U.,
Riyapan, S., Limsuwat, C., Chaisirin, W., &. Reungsomboon, O. (Eds), First hour in emergency medicine 2017: From prehospital to definitive care (pp. 17-31). P.A. Living. [in Thai]
Pitteloud, J., & Goulesque, B. (Eds.). (2020). Airway and ventilation. In National Association of Emergency Medical Technicians (NAEMT), PHTLS: Prehospital trauma life support (9th ed.). (pp. 199-254). Jones & Bartlett Learning.
Sanguanwit, P. (2022). Fluid resuscitation. In Weerawat, T., Angkoontassaneeyarat, C., & Yuksen, C. (Eds.), Comprehensive emergency care guide book comprehensive emergency care guide book (pp. 96-106). Department of Emergency Medicine, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. [in Thai]
Thailand Nursing and Midwifery Council. (2020). Regulations on the limitations and conditions for the nursing and midwifery professions (no. 4) B.E. 2020 (Emergency nursing practice). https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_0051.PDF [in Thai]
Udeani, J. (2018, September 12). Hemorrhagic shock. https://emedicine.medscape.com/article/432650-overview
Wacharasint, P., Piyavatewiwat, K., Piriyapatsom, A., & Morakul, S. (2017). Comprehensive hemodynamic in critically ill patients (choc) (2nd ed.). Beyond Enterprise. [in Thai]
Yoosook, S., Suwanmontri, P., Charoenrat, P., & Ninsonthi, N. (2017). Developing a model of care for the multiple trauma hypovolemic shock patients in Sawanpracharak Hospital. Journal of the Department of Medical Services, 42(6), 96-101. [in Thai]
Yuksen, C. (2022). Initial assessment and management in traumatic patient. In Weerawat, T., Angkoontassaneeyarat, C. & Yuksen, C. (Eds.), Comprehensive emergency care guide book (pp. 505-524). Department of Emergency Medicine, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”