ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อของผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการซื้อ, ส่วนประสมทางการตลาด, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ, ร้านสะดวกซื้อ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อของผู้สูงอายุ (2) ความแตกต่างของพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อของผู้สูงอายุ จำแนกตามลักษณะทางประชากร และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อ จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Independent-Sample t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงและเพศชายในสัดส่วนเท่ากัน ประกอบอาชีพอิสระและกิจการส่วนตัว มีระดับการศึกษาประถมศึกษาที่ 4 รายได้อยู่ระหว่าง 10,001 ถึง 20,000 บาท อาศัยอยู่กับบุตรหลาน ประเภทสินค้าที่ซื้อเป็นน้ำดื่มผสมวิตามิน เข้าใช้บริการที่ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น โดยมีความถี่ในการซื้อสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง เท่ากับ 50-100 บาท ใช้บริการในช่วงเวลา 05:00-10:00 น. ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.17 ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะอื่น ๆ จากผู้บริโภคพบว่า ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหาซื้อยาก ราคาสูง และรสชาติของผลิตภัณฑ์ไม่ถูกปากผู้บริโภค ใส่ส่วนผสมอื่นที่ปรุงแต่งอาหารมากจนเกินไป
การทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้สูงอายุเพศชายและหญิงมีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อที่แตกต่างกัน และผู้สูงอายุที่มีอาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และรูปแบบการพักอาศัยที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
Aruntippaitoon, S. (2017). The Madrid international plan of action on ageing: The United Nations framework for Thailand. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine, 16(2), 80-86. https://journalggm.org/view-article-16/ [in Thai]
Best, J. W. (1981). Research in education. Prentice-Hall.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). Harper and Row.
Department of Older Persons. (2014). Survey of the elderly population in Thailand 2014. https://www.dop.go.th/th/know/1/48 [in Thai]
Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing management (15th ed.). Pearson Education.
Phuengwattananukul, A. (2019). Organic vegetable marketing mix for the royal project for the elderly in Bangkok. Pathumthani University Academic Journal, 11(1), 278-282.
Pradubmook, P., & Ruangsarakul, R. (2022). The concepts of health and alternative medicine: The view from alternative medicine users. Mahidol Integrated Social Science Journal, 9(2), 96-124. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/259236 [in Thai]
Schiffman, L. G., & Wisenblit, J. L. (2015). Customer behavior (11th ed.). Prentice Hall.
Serirat, S., Serirat, S., Mechinda, P., Aunwichanont, J., & Lertwannawit, A. (2017). Marketing management. Thammasan.
Siriimsamran, M. (2014). Attitudes towards life and consumption behavior of the elderly and those entering the elderly in Bangkok [Master’s thesis]. Chulalongkorn University.
Sutantaviboon, N., Teekasap, P., & Glinubol, C. (2013). Personal factor, marketing mix, and the purchasing behavior of dragon jars pottery in Ratchaburi. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 7(13), 79-87.
The Bureau of Registration Administration. (2023). Elderly people in Bangkok. https://www.bora.dopa.go.th/category/allbook/p-2566/ [in Thai]
United Nation, Department of Economic and Social Affairs. (2022). World population prospects 2022: Summary of results. https://desapublications.un.org/publications/world-population-prospects-2022-summary-results
Uthaipattanacheep, A., & Chulakaranka, S. (2013). Food for humanity. Kasetsart University Press.
Utthakham, V., & Sripokangkul, S. (2021). Management of the elderly club in Nong Ruea district, Khon Kaen province. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(4) 150-161. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/247801/167845 [in Thai]
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”