การพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมทางการพยาบาล: ความไวทางจริยธรรม
คำสำคัญ:
ความไวทางจริยธรรม, พฤติกรรมจริยธรรมทางการพยาบาลบทคัดย่อ
ความไวทางจริยธรรม (Ethical Sensitivity) คือความสามารถในการรับรู้ และการตีความเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นทางจริยธรรม พยาบาลเป็นอาชีพที่มีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ร่วมงานและผู้รับบริการ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชน ยึดหลักคุณธรรมและความเสมอภาคในสังคม แต่จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนภาระงานหนักของพยาบาลในการดูแลผู้รับบริการ ทำให้มีโอกาสเกิดข้อขัดแย้งในประเด็นทางจริยธรรมสูง วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะความไวทางจริยธรรมการพยาบาล ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมการพยาบาลอย่างเหมาะสมตามจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ และเพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้เกี่ยวข้องในทีมสุขภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านความปลอดภัยและด้านคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล
การแสดงพฤติกรรมทางจริยธรรม เป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากความไวทางจริยธรรมจะนำไปสู่การตัดสินใจเชิงจริยธรรม โดยอาศัยแรงจูงใจและคุณลักษณะทางจริยธรรม การพัฒนาทักษะความไวทางจริยธรรมโดยการปลูกฝังจิตสำนึกทางจริยธรรม ความสามารถในการรับรู้ทางจริยธรรม การเข้าใจมุมมองของบุคคลอื่น จะทำให้พยาบาลเกิดความตระหนักมีความรู้สึกรับผิดชอบทางวิชาชีพ และความต้องการที่จะช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมทางการพยาบาลในการดูแลผู้รับบริการ
References
Abdou, H. D., Baddar, F. M., & Alkorashy, H. A. (2010). The relationship between work environment and moral sensitivity among the nursing faculty assistants. World Applied Sciences Journal, 11(11), 1375-1387.
Aphiwan, K. (2004). Ethics nursing quality. Unity and Progressive Solution. [in Thai]
Arpanantikul, M., Prapaipanich, W., Senadisai, S., & Orathai, P. (2014) . Ethics in nursing practice of Thai nurses according to the perception of nursing administrators. The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 29(2), 5-20. [in Thai]
Berry, A. J. (2009). Nurse practitioner/patient communication styles in clinical practice. Journal for Nurse Practitioners, 5(7), 508-514.
Chandathong, B. (2011). Experiences of having patient complaints on service behaviors of professional nurses [Master’s thesis]. Chulalongkorn University. [in Thai]
Chinwanno, W. (2015). Professional ethics. Mahidol University Press. [in Thai]
Hongladarom, T. (2018). Professional ethics and ethical. http://www.stc.arts.chula.ac.th/Publications/files/Professional_ethics [in Thai]
Indhraratana, A. (2014). Ethical sensitivity: Concept and application for teaching in nursing. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 141-147. [in Thai]
Janthamungkhun, J., Rachabootr, N., Tangpant, C., Siangphrao, K., & Trakunkarn, K. (2019). Development of a morality, ethics and nursing laws competency test for nursing students. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 9(2), 132-143. [in Thai]
Narvaez, D., Endicott, L., Bock, T., & Mitchell, M. (2011). Ethical sensitivity activity booklet. https://cee.nd.edu/curriculum/documents/actbklt1.pdf
Rest, J. R. (1989). Moral development: Advances in research and theory (5th ed.). Praeger.
Robichaux, C. (2012). Developing ethical skills: From sensitivity to action. Critical Care Nurse, 32(2), 65-71.
Sirilai, S. (2012). Ethics for nurses. Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Thailand Nursing and Midwifery Council. (2021). Annual report 2021 Thailand Nursing and Midwifery Council. https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/TNMC%20Annual%20Report%202021.pdf [in Thai]
Thongjam, R. (2021). Ethical behavior development of professional nurses [Doctoral dissertation] Mahachulalongkornrajavidyalaya University. [in Thai]
Weaver, K. (2007). Ethical sensitivity: State of knowledge and needs for further research. Nursing Ethics, 14(2), 141-155.
Weaver, K., Morse, J., & Mitcham, C. (2008). Ethical sensitivity in professional practice: Concept analysis. Journal of Advance Nursing, 62(5), 607-618.
Yudee, S. (2003). Nurses' ethical decision making in providing care for critically III patients in southern Thailand [Master’s thesis]. Prince of Songkla University. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2553/1688 [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”