รูปแบบการดำเนินชีวิต และส่วนประสมทางการตลาด ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • เปรมมิกา ศิริวิเศษวงศ์ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

รูปแบบการดำเนินชีวิต, ส่วนประสมทางการตลาด, กระบวนการตัดสินใจซื้อ, อาหารเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยเป็นเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่เคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เฉพาะร้าน ซุปเปอร์มาร์เก๊ต ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดเชิงพหุคูณ

       ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินชีวิตโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตในด้านความสนใจมากที่สุด ด้านกิจกรรม และด้านความคิดเห็น ตามลำดับ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ กระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีโดยรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ ด้านการประเมินทางเลือก ตระหนักถึงปัญหาโดยรวมการแสวงหาข้อมูลโดยรวม อยู่ในระดับมากตามลำดับ

       ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Arunkerewat, N., Pongkok, R., Rattanadirokwit, R., Arunkrirewat, W., Satongkoem, T., & Murnpho, S. (2019). The marketing mix factors affected purchase decision of millenial group consumers to buy healthy box lunch in Bangkok district. SAU Journal of Social Sciences & Humanities, 3(2), 33-43. [in Thai]

Avakiat, S., & Roopsuwankun, P. (2021). The important factors influencing the purchase decision of products via online application (mobile application) of consumers in Bangkok. APHEIT International Journal, 10(2), 45-56. [in Thai]

Bangkokbiznews. (2023, February 22). How to run “healthy food business” in this era for all generation ? https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1054386 [in Thai]

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. John Wiley & Sons.

Cronbachs, L. J. (1970). Essentials of phychilogical testing (3rd ed.). Harper and Row.

Kaoudom, N. (2022). Lifestyle and motivations affecting consumer on watching games streaming in Thailand [Master’s thesis]. Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2445/1/gs641130098.pdf [in Thai]

Kasikorn Research Center. (2020). Health trend from Covid, business opportunity for SME. www.kasikornbank.com/SiteCollectionDocuments/business/sme/knowledge/article/KSMEAnalysis/Healthtrend_SME/Healthtrend_SME.pdf [in Thai]

Khownaun, P. (2023). Healthy food. Lampang Provincial Administrative Organization. https://www.lppao.go.th/Main60/index.php/2016-11-02-07-11-06/2016-11-02-07-11-17/4014-190125661057.html [in Thai]

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140),1-55.

Manager Online. (2023). Mintel: A global market intelligence & research: Food and drink trend in 2023. https://mgronline.com/smes/detail/9660000048520 [in Thai]

Paendi, A., & Varatornpaibul, T. (2021). Casual factors influencing consumer’s purchasing decision of ready to eat heathy food in modern trade in Bangkok. Suthiparithat Journal, 35(1),138-157. [in Thai]

Pakaya, J., & Prasertchuwong, V. (2023). Attitude and lifestyle influencing healthy food purchase decisions of consumers in Bangkok. Journal of Management Science Udon Thani Rajabhat University, 5(1), 59-72. [in Thai]

Rongrat, K., Klinmalai, S., Papattha, C., & Auppathak, C. (2023). The study of factors affecting the purchasing of healthy food among working age groups Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Journal of Business and Industrial Development, 3(3), 14-28. [in Thai]

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-60.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior (9thed.). Prentice-Hall.

Sribureeruk, P. (2023). Developing vitamin-infused drinking water formulas according to customer expectations: A case study of undergraduate students in Nonthaburi province. Journal of Health and Food Creation, 1(1), 34-50. [in Thai]

Yanglue, J. (2019). The decision process of buying food for the health of people working in Bangkok area. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-7/6114152040.pdf [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26