การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 : กรณีศึกษาบ้านเทพประทับ ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • วัชรากร โคตพันธ์ -

คำสำคัญ:

โรค COVID-19, กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 บ้านเทพประทับ หมู่ที่ 9 ตำบลนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพของ อสม.ในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Appreciation Influence Control: AIC) มี อสม.ที่มีความยินดีและเต็มใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน ตัวแทนแกนนำชุมชนและตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกระบวนการวางแผน    แบบมีส่วนร่วม จำนวน 15 คน รวมจำนวน 45 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ระหว่าง วันที่ 1 เมษายน - 30 พฤศจิกายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ด้านความรู้ทดสอบความเที่ยงด้วยวิธีของคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (KR-20) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 ความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.2-0.8 ในด้านการปฏิบัติหาค่าความเที่ยงด้วยวิธีการของครอนบาช (Cronbach’s Method) ได้ค่าเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Windows โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้แนวทางการสนทนากลุ่มการสัมภาษณ์ปลายเปิดและแบบสังเกตการมีส่วนร่วม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของ อสม. 1) ด้านความรู้หลังการพัฒนามีความรู้เพิ่มขึ้นทุกข้อคำถาม 2) ด้านการปฏิบัติหลังการพัฒนามีการปฏิบัติเป็นประจำมากที่สุดคือ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และมีการปฏิบัติเป็นประจำน้อยที่สุดคือ เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร เลี่ยงการอยู่ในที่แออัด 3) ผลการประชุมการวางแผนแบบมีส่วนร่วมทำให้ได้โครงการเพื่อแก้ไขปัญหา จำนวน 2 โครงการ ดังนี้ (1) โครงการพัฒนาศักยภาพของ อสม.ในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 บ้านเทพประทับ หมู่ที่ 9 (2) โครงการพัฒนาหมู่บ้านสะอาดปราศจากโรค COVID-19

References

กรมควบคุมโรค. การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565];

เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม.หมอประจำบ้าน. นนทบุรี:

กระทรวงสาธารณสุข; 2539.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต].

[เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก https://www.nko.moph.go.th/

main_new/#covid19

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสังคม. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. 7 พฤษภาคม

; หนองคาย: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสังคม; 2565.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทพประทับ. บรรณาธิการ. รายการผลการประชุมประจำเดือน อสม.

พฤษภาคม 2565; หนองคาย: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทพประทับ; 2565.

Bloom, B.S. Toxonomy of education objective: Handbook Icognitive domain. New York: David

MCI; 1968.

จันทิมา ห้าวหาญ, พรรณวดี ขำจริง. ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกัน

COVID-19 ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. คณะบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต; 2564.

เอกราช มีแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการปฏิบัติงาน เฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.

ธวัชชัย ยืนยาว และเพ็ญนภา บุญเสริม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกัน

การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัด

สุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(3), 2563. 555-564.

สุภารัตน์ สีวงกลาง และคณะ. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในโครงการ

อสม.เคาะประตูบ้าน ต้านโควิด 19 ของอสม. ตำบลดอนเมือง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วิทยาลัย

พยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา; 2563.

บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล

ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 2564.

-75.

สุภาภรณ์ วงธิ. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัคร

สาธารณสุขประจาหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะ

สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเศวร; 2564.

อภิวดี อินทเจริญ และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ

ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 2564.

- 30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2023