ศึกษาอัตราและรูปแบบการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยา Rifampicin และ Isoniazid ด้วยวิธี Line probe assay ในตัวอย่างส่งตรวจที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น เดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2565

ผู้แต่ง

  • ปวีณา กมลรักษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • ธีระพจน์ สิงห์โตหิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • นุชรา กลางประพันธ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • วรัญญู พอดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • ธิรดา โสสว่าง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราและรูปแบบการกลายพันธุ์ของยีนในเชื้อวัณโรคที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยาไรแฟมพิซินหรือไอโซไนอาซิด หรือดื้อทั้งไรแฟมพิซินและไอโซไนอาซิด โดยใช้ข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ในสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการวัณโรคที่กลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรค ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2565 จำนวน 312 ตัวอย่าง พบว่าเชื้อวัณโรคที่ดื้อต่อยาจำนวน 83 ตัวอย่าง ดื้อต่อยาไอโซไนอาซิดเพียงชนิดเดียว จำนวน 56 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ของยีน katG จำนวน 38 ตัวอย่าง (ร้อยละ 67.9) รูปแบบการกลายพันธุ์ (wild type/mutant) ที่พบมากที่สุด คือ katG WT/ katG MUT1 จำนวน 21 ตัวอย่าง (ร้อยละ 25.3) และการกลายพันธุ์ของยีน inhA จำนวน 18 ตัวอย่าง (ร้อยละ 32.1) รูปแบบที่พบมากที่สุด คือ inhA WT1/ inhA MUT1 จำนวน 11 ตัวอย่าง (ร้อยละ 13.3) ดื้อต่อยาไรแฟมพิซินเพียงชนิดเดียว 8 ตัวอย่าง (ร้อยละ 2.6) รูปแบบที่พบมากที่สุด คือ -/ rpoB MUT3 จำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 2.4) และดื้อต่อยาไอโซไนอาซิดร่วมกับไรแฟมพิซิน (MDR-TB) จำนวน 19 ตัวอย่าง (ร้อยละ 6.1) รูปแบบที่พบมากที่สุด คือ rpoB WT8/ rpoB MUT3, katG WT/ katG MUT1 จำนวน 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 7.2) การศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้ในการประเมินสถานการณ์การดื้อยาของเชื้อวัณโรคในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ : วัณโรค, รูปแบบการกลายพันธุ์ของยีน

References

World Health Organization. Global tuberculosis report 2021. Geneva, Switzerland: WHO; 2021.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กองวัณโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/statustb.html

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสอบสวนและควบคุมวัณโรค (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2566.

อรุณรัศมี อร่ามทิพย์, อนุกูล บุญคง, ปฐมพงศ์ แย้มปั้น, วุฒิชัย ปัญญาสิทธิ์, วีรลักษณ์ สายต่างใจ. การกระจายตัวของยีนดื้อยา Rifampicin และ Isoniazid ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงวัณโรคดื้อยาโดยวิธี Line probe assay. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2561;12(3):11-6.

Charan AS. et al. Pattern of InhA and KatG mutations in isoniazid monoresistant Mycobacterium tuberculosis isolates. Lung India. 2020;37(3):227-31.

Tavakkoli Z, Nazemi A. Genotyping of related mutations to drug resistance in isoniazid and rifampin by screening of katG inhA and rpoB genes in Mycobacterium tuberculosis by high resolution melting method. J Mycobact Dis. 2018;8:265-70.

Huyen MN. et al. Epidemiology of isoniazid resistance mutations and their effect on tuberculosis treatment outcomes. Antimicrob Agents Chemother. 2013;57:3620-7.

Tadesse M. et al. Drug resistanc-conferring mutations in Mycobacterium tuberculosis from pulmonary tuberculosis patients in Southwest Ethiopia. Int J Mycobacteriology. 2016;5:185-91.

Sinha P, Srivastava GN, Tripathi R, Mishra M, Anupurba S. Detection of mutations in the rpoB gene of rifampicin-resistant Mycobacterium tuberculosis strains inhibiting wild type probe hybridization in the MTBDR plus assay by DNA sequencing directly from clinical specimens. BMC Microbiology. 2020;20:284.

วรวัฒน์ จำปาเงิน, วิภา รีชัยพิชิตกุล. วัณโรคดื้อยาไอโซไนอาซิด แนวทางปฏิบัติจากองค์การอนามัยโลก ปี 2018. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561;4(2):4-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-01-2024